แชร์กรณีศึกษา “Therapeutic Content” คอนเทนต์ฮีลใจที่เข้าถึงคนทุก Gen

การทำคอนเทนต์ในทุกวันนี้ไม่ได้ต้องตามหาแค่กลยุทธ์หรือ ‘Strategy’ ในการอัปเดตเทรนด์คอนเทนต์ให้ทันตามความสนใจของผู้คนที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังต้องตามหา ‘Therapy’ หรือการให้ความรู้สึกฮีลใจในคอนเทนต์ด้วย อย่างที่เราเรียกกันว่า “Therapeutic Content” ที่ผู้คนในยุคนี้ต้องการอะไรที่ทำให้เข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังบวกให้ตัวเองมากกว่าที่เคย

ตั้งแต่ยุคโควิดระบาดผู้คนก็มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่การห่วงใยทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจมากขึ้น รวมถึงพิษเศรษฐกิจที่ทำให้การใช้ชีวิตยากกว่าเดิม การเพิ่มสีสันด้วยคอนเทนต์บันเทิง หรือคอนเทนต์ที่ช่วยฮีลใจได้จึงสำคัญ

ซึ่ง Therapeutic Content นั้นเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการถูกเข้าใจ หรือถูกโอบรับ และเป็นที่ยอมรับ ส่งผลให้บริบทของสังคม และการทำคอนเทนต์ในยุคนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงควบคู่กันไปด้วย ทั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์, แบรนด์ หรือว่าเอเจนซีต่างก็ต้องปรับตัวเช่นกัน

โดยการทำให้คอนเทนต์ หรือแบรนด์ดิงที่มีอยู่สอดแทรกทั้งความบันเทิง และความรู้สึกฮีลใจเอาไว้ จนกลายเป็นเทรนด์ในปีนี้ ที่ทุกคนอยากจะตั้งเป้าหมายใหม่ และเชื่อในตัวเองมากขึ้นควรเริ่มอย่างไร เพื่อให้คอนเทนต์มีทั้ง strategy และ theraphy ที่ดี วันนี้ RAiNMaker มีกรณีศึกษามาแชร์ให้อ่านกัน!

Therapeutic Content คือ 

การทำคอนเทนต์ที่ดีต่อใจ หรือได้อ่าน และได้ดูแล้วเกิดความรู้สึกใจฟู ไปจนถึงทำให้อยากพัฒนาตัวเอง และโอบรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้มากกว่าที่เคย ผสานรวมกันกลายเป็นแรงใจให้อยากตั้งเป้าหมายในชีวิตชัดเจนขึ้นสามารถนำมาทำเป็นคอนเทนต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ หรือว่าอีเวนต์ก็ตาม

How To สร้างคอนเทนต์ฮีลใจ 

  • สร้าง ‘awareness’: หาการรับรู้ว่าคอนเทนต์ หรือแบรนด์ดิงที่สร้างขึ้นต้องการสร้างการรับรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับการฮีลลิ่ง เช่น ปลอบประโลมใจคนวัยทำงาน หรือคอนเทนต์ที่ทำให้รับรู้ถึงการรักตัวเอง เป็นต้น 
  • ตามหา ‘therapeutic relationship’: เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคอนเทนต์ หรือแบรนด์ดิงที่สร้างขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย หลังจากมีการรับรู้ที่ต้องการแล้ว เพื่อทำให้คอนเทนต์เข้าถึงสภาพจิตใจของกลุ่มเป้าหมาย
  • ‘reflect’ ตัวตน: เมื่อทำความเข้าใจอินไซต์ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็สร้างคอนเทนต์ที่สะท้อนตัวตน นิสัย และพฤติกรรมได้มากขึ้น โดยใช้ pain point เข้ามาช่วยทำให้คอนเทนต์มีประสบการณ์ร่วมกัน
  • ให้ ‘Inspiration’: คอนเทนต์ที่ฮีลใจไม่ได้แค่ปลอบประโลมได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ หรือทำให้คนที่ผ่านมาเห็นรู้สึกมีส่วนร่วม จนกลับไปตั้งเป้าหมายใหม่ให้ตัวเองได้

Process การสร้างคอนเทนต์ให้ฮีลใจ 

  1. Narrative Details: หาสถานการณ์ที่มีประสบการณ์ร่วม 
  2. Cognitive Elements: หาการรับรู้ และความเชื่อร่วม 
  3. Emotional Experiences: หาความรู้สึกร่วม 
  4. Behavioral Issues: หาพฤติกรรม หรือการกระทำร่วม 

เพียงแค่เริ่มค้นหาจากทั้ง 4 กระบวนการนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์ หรือว่าเอเจนซี การสร้างคอนเทนต์ที่ทำให้คนมีความรู้สึกร่วมกันนั้นสำคัญมาก ถึงจะต่อยอดไปสู่การสร้างประสบการณ์ร่วมกันได้ ไม่ว่าการนำเสนอนนั้นจะเป็นในรูปแบบไหนก็ตาม

Tips: Belief of Healing

  • Spiritual: จิตวิญญาณ 
  • Aura: สีของพลังงาน 
  • Manifest: ทำให้สิ่งที่เชื่อเกิดขึ้นจริง 
  • Super Full Moon: วันแห่งการ Manifest 
  • Chakra Harmony: สมดุลของร่างกาย 

ในจักรวาลของการฮีลลิ่งนั้นไม่ได้มีแค่เรื่องของการฮีลใจ แต่สิ่งเหล่านั้นที่กลายเป็นเทรนด์ฮิตในตอนนี้ ยังเชื่อมโยงกับเรื่องของ “ความเชื่อ” แบบคนไทยด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจักระในร่างกาย หรือสีของจิตวิญญาณ และวันที่พระจันทร์เต็มดวง ก็นับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนสร้างความเชื่อให้ตัวเอง เพื่อนำไปทำให้เกิดขึ้นจริงได้

Therapeutic Content

ได้รู้จัก Therapeutic Content กันไปแล้ว ต่อไป RAiNMaker อยากมายกตัวอย่างให้เห็นภาพกันมากขึ้นไปอีก ว่า Therapeutic Content เมื่อนำมาสร้างเป็นคอนเทนต์นั้นจะหน้าตาเป็นแบบไหน หรือส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายในแต่ละแบบยังไงให้ฮีลใจได้บ้าง มาดู!

  • Mission To The Moon สื่อที่เติมเต็มความรู้ และแรงบันดาลใจ เพื่อให้นำไปพัฒนาทักษะใหม่กับคนทำงานได้ และทำให้รู้สึกได้ถึงเซฟโซน และการฮีลใจสำหรับคนวัยทำงาน
  • มนุษย์ต่างวัย มนุษย์ต่างวัยที่เชื่อว่าช่องว่างของอายุสามารถลดลงได้ถ้ามีการพูดคุยกันอย่างเข้าใจ เป็นการฮีลใจอีกแบบที่ไม่ได้ตัดสินเรื่องอายุ แต่เชื่อในการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ
  • The MATTER: 30 ยังจ๋อย คำว่า ‘จ๋อย’ เป็นคำในแง่ลบที่คนตัวจ๋อยมักวิ่งตามคนเจ๋ง ๆ สู่คอนเซปต์รายการ 30 ยังจ๋อย พื้นที่ที่ผู้คนได้มาแชร์ความจ๋อยของตัวเองในวัย 30
  • Koendanai ‘เขื่อน’ หรือ ‘หมวยเขื่อน’ อีกบทบาทจากการจับไมค์ มาจับใจคนในฐานะนักจิตวิทยา ที่ตั้งใจเรียนจิตบำบัดเพื่อมาสร้างพลังบวกให้กับทุกคน
  • pawindrmom การสนทนาของภาวินท์ และคุณแม่ที่ทำให้ได้ทัศนคติในการใช้ชีวิต และตัดสินใจแต่ละสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดี โดยความคิดความอ่านของคุณแม่นั้นได้ใจใครไปหลายคนเลย
  • Roundfinger Channel ‘นิ้วกลม’ บุคคลที่ทำให้หลาย ๆ คนหันมาคุยกับตัวเอง หรือไม่ก็ชวนกันล้อมวงสนทนาเรื่อหนังสือ การอ่าน การงาน และชีวิตได้อยู่เสมอ จนได้มีทอล์กโชว์ ‘นิ้วกลมนั่งเล่า’ ของตัวเองด้วย
  • THE STANDARD knd พอดแคสต์ วิดีโอ และคอนเทนต์เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ที่มักจะมีคำศัพท์ใหม่ ๆ และเพิ่มความกล้าให้ทุกคนกล้าพูดภาษาอังกฤษในแบบของตัวเองด้วย
  • THE STANDARD LIFE สื่อ well-being ที่นำเสนอเรื่องของการใช้ชีวิตแบบคนเมืองที่ต้องรักษาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจควบคู่กันไป
  • THE STANDARD PODCAST: | Open Relationship | R U OK พอดแคสต์ที่พร้อมตอบทุกปัญหาใจ ไม่ว่าจะคอนเทนต์เรื่องความสัมพันธ์ หรือใจที่ยังรักตัวเองไม่มากพอก็ตาม
  • The Cloud: Coming of Age พอดแคสต์ที่รวบรวมบทเรียนชีวิตของผู้คนที่หลากหลายไปตามตัวเลขอายุ รวมถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ได้จากในวัยนี้
  • GoodDayPodcast: เม้ามอยกับพลอยหอ พอดแคสต์ที่ชวนเหล่าคนดังมาเม้ามอยเรื่องชีวิตแบบที่ไม่เคยเล่าที่ไหนมาก่อน เพราะกว่าจะมีวันนี้นั้นไม่ง่ายเลย
  • Tuklittlemonster จาก Little Monster ช่องโชว์ความน่ารักของครอบครัว มาสู่คอนเทนต์ของ #แม่ตุ๊ก ที่หลาย ๆ คนฟังเพลิน และได้รับข้อคิด รวมถึงสูตรอาหาร และลิสต์ซีรีส์เรื่องใหม่กลับไปด้วย
  • stay with cotton ช่องที่รวมรูทีนของการทำอาหาร และจัดตกแต่งบ้านแบบมินิมอล ที่มาพร้อมมู้ดโทนฮีลใจในวันสบาย ๆ ไม่ต้องเร่งรีบ
  • Kaewjarin คอนเทนต์ส่องชีวิตการทำสวน ทำอาหาร และทำคาเฟ่ของแก้ว และโทนี่ ที่ผันตัวจากชีวิตในแสงสีไปอยู่ในสวนสวย และเข้าสู่วงจรโฮมเมด
  • กอมอนอ | @Kormornor นี่ไม่ใช่แค่คอนเทนต์ท่องเที่ยว หรือพาไปรู้จักร้านอร่อย ๆ แต่ร้านเหล่านั้นยังมีเบื้องหลัง และเรื่องราวฮีลใจมากมายไปกับมู้ดสบายตาฉบับอาย กมลเนตรด้วย

Jaifoo Content

นอกจาก Therapeutic Content ที่ช่วยฮีลใจ และให้กำลังใจเป็นพลังบวกในวันที่เหนื่อยล้าแล้ว ยังมีคอนเทนต์แบบ ‘ใจฟู’ ที่แค่เห็นก็ได้รับพลังบวกแล้ว ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้มีความน่ารักกับใจเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • Butterbear มาสคอตที่ไม่ได้เป็นแค่มาสคอต แต่กลายเป็นเซเลปวงการมาสคอตที่ไปดุ๊กดิ๊กทุกวงการ จนมีแฟนด้อมเป็นมัมหมี และพร้อมที่จะฮีลใจทุกคนด้วยความน่ารักคูณสิบ
  • หมูเด้ง ฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เขาเขียว ที่โตมาพร้อมกับความเด้งเป็นพิเศษ และพร้อมงับพี่เบนซ์คนดูแลโชว์ตลอดในเวลาที่ไม่ได้นอนหลับ
  • 컬렌 Cullen HateBerry จากดีเจทำเพลงมาสู่ครีเอเตอร์สายเที่ยวตามธรรมชาติ และจุด unseen ทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย และทำให้คนอยากไปตามเก็บพาสปอร์ตอุทยานจนครบด้วย
  • cielmeowmun เมื่อความแมวก็มึนได้ ไม่ว่าจะทั้งชิเอล คิรัวร์ มิเรย์ ต่างก็มีเสียงพากย์อันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง พร้อมความซน และหน้ามึนกว่าทุกแมวบนโลกนี้
  • Gluta Story คอนเทนต์ตระกูลมะหมาที่เกิดมาจากความรักของกลูต้า พ่วงความน่ารักแบบหมา และแมวจรที่ทำให้ทุกคนหลงรัก พร้อมคอนเทนต์คอลแลบ ‘มหึหมา’ สุดฮีลใจ
  • Japan and friends ‘จุ๊บเหม่งมีอะราย’ เสียงพากย์อันเป็นเอกลักษณ์ของหมาโกลเด้นจอมซน ที่โดนพากย์จนเหมือนพูดได้ พร้อมชวนทุกคนเข้าสู่ลัทธิหมาโกลเด้นด้วยความแสบซนไม่แบ่งใคร
  • Malithesamoyed คุณหนูมะลิเจ้าของคอนเทนต์ food prep ชวนหิว ที่หลายคนดูแล้วต้องหันไปดูแลการกินสัตว์เลี้ยงที่รักของตัวเอง จนเกิดเป็นกระแสโชว์มื้ออาหารเหล่ามะหมาบน TikTok

Therapy Trends

  • PANTONE 2025: Mocha Mousse สีแห่งปีที่สื่อถึงความรู้สึกอบอุ่น นุ่มนวล และน่าลิ้มลองแบบช็อกโกแลต หรือกาแฟที่ช่วยตอบสนองความต้องการ และผ่อนคลายให้ทุกคนได้ดื่มด่ำถึงความสุข
  • Sound Healing (Credit: Jess Yoga) การบำบัดด้วยเสียง โดยใช้คลื่นเสียง และสมาธิเยียวยาจิตใจ เพราะช่วย ปรับให้สมองมีคลื่นความถี่ต่ำลง และร่างกายผ่อนคลาย
  • Ice Bath (Credit: Mission To The Moon) เทรนด์บำบัดร่างกายด้วยการแช่ในน้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศา เวลาประมาณ 8-15 นาที เพื่อช่วยลดความเครียด
  • Alchemy Crystal Singing Bowl (Credit: CVNC Crystal) การบำบัดด้วยคลื่นเสียงจากแรงสั่นสะเทือนในโมเลกุลของคริสตัล เกิดเป็นคลื่นเสียง และภาวะสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมดุลต่อร่างกาย

Therapy Event

นอกจากการฮีลใจจะสามารถมาในรูปแบบคอนเทนต์ที่อ่าน หรือรับชมเป็นวิดีโอได้แล้ว ยังสามารถทำเป็นรูปแบบอีเวนต์เพื่อให้ผู้คนที่มีประสบการณ์ และความรู้สึกร่วมกัน เพราะสามารถไปฮีลใจในเรื่องที่เจอมาเหมือนกันได้ด้วย

  • SEA LIFE Bangkok x Vachboy: Wave of Bloom นิทรรศการ ‘Wave of Bloom’ แต่งโฉมอควาเรียมผสานศิลปะร่วมสมัยในสไตล์ Neo-Pop Art ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
  • give.me.museums เจ้าของอีเวนต์อันอบอุ่นอย่าง ‘BIG HUG’ ที่อยากให้ทุกคนมีวันดี ๆ ผ่านผลงานสีสันสดใส ที่มีกลิ่นอายความเป็นเด็ก และคอนเซปต์ Blooming แบบอิมเพรสชั่นนิสม์เป็นเอกลักษณ์
  • Sundae Kids: 10 Years of Lost and Found นิทรรศการจากคู่รักศิลปินที่เก่งการเล่าเรื่องด้วยชีวิต ความรัก และการเติบโต ที่ทำให้ทุกคนได้ดื่มด่ำไปกับการย้อนมองความสัมพันธ์ข้างกาย
  • Eyedropper Fill ศิลปินผู้สร้างสรรค์สื่อผสมยุคใหม่กับโปรเจกต์งานภาพ มีทั้งแสง สี เสียงและนำทุกคนที่รู้สึกร่วมกันมารวมตัวกันเพื่อฮีลใจ และเชื่อมโยงถึงกันและกัน
    • พาใจกลับบ้าน
    • To You: 10 Years From Now
  • Suntur ศิลปินผู้เล่าเรื่องผ่านภาพ และถูกยกให้เป็นตัวแทนความเหงาแบบมินิมอลที่สะท้อนความรู้สึก และความคิดถึงออกมาได้เก่งที่สุด และทำให้ผู้ชมย้อนคิดตามภาพที่ได้เห็นทุกครั้ง
  • Crybaby เจ้าของผลงานสุดฮิตติดตลาดทั่วโลก ที่มีความเชื่อว่าไม่ว่าใครก็ร้องไห้ได้ เพราะน้ำตาเป็นการแสดงออกพื้นฐานของมนุษย์ และใช้ความหลงใหลในน้ำตา มาสร้างเป็นอีเวนต์ฮีลใจผู้คน
  • Mackcha เจ้าของผลงานที่มักจะพาทุกคนไปสำรวจ และดำดิ่งสู่ห้วงทะเลลึกที่สุดในใจของตัวเอง พร้อมเปิดเซฟโซนให้ทุกคนมาเยือนผ่านผลงานอยู่เสมอ
  • SOMMARK: Year of YOU because this year is yours ครีเอเตอร์เจ้าของลายมืออันเป็นเอกลักษณ์ ที่เพียงแค่ได้เห็นตัวอักษรเขียนลงที่ไหน ก็รู้สึกฮีลใจได้ที่นั่นกับการให้กำลังใจทุกคนในทุกสถานการณ์
  • Yerrinda Kaewsuwan: FLOWER NEED TIME TO BLOOM นิทรรศการที่ปลอบประโลมผู้คนว่าแต่ละคนมีเวลาที่ผลิบานในฤดูกาลของตัวเอง พร้อมการสื่อสารผ่านผลงานที่พร้อมโอบกอดทุกคน
  • BrandThink: MIND DAY ภูมิคุ้มใจ PRESENTED BY SHISEIDO อีเวนต์ฮีลใจที่ชวนทุกคนมาสร้างความเข้มแข็งจากภายใน สู่ภูมิคุ้มกันใจหลากหลายวิธีไปด้วยกัน

จากกรณีศึกษา Therapeutic Content และ Therapy Content หลากหลายรูปแบบ จะเห็นได้ว่ายุคนี้การฮีลใจไม่ได้อยู่แค่ในตัวหนังสือ แต่ยังสามารถกลายเป็นวิดีโอ หรืออีเวนต์ที่สร้างประสบการณ์ร่วมกันมากขึ้นได้

เพราะท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย และชีวิตที่ต้องผ่านไปในแต่ละวัน การได้อ่าน ได้ดู หรือได้พบเจอบางอย่างที่ทำให้รู้ว่า ยังมีอีกหลายคนที่รู้สึก หรือรอที่จะผ่านอะไรไปให้ได้หมือนกันนั้น ทำให้ RAiNMaker เชื่อว่าในอนาคตจะมีคอนเทนต์ฮีลใจเกิดขึ้นอีกมากมายอย่างแน่นอน

ใครที่ยังไม่ได้ลองทำคอนเทนต์สายนี้ ก็สามารถไปตามหาจุดสร้างความรู้สึก หรือสร้างประสบการณ์ร่วมกันได้นะ เพราะยังมีผู้คนอีกมากมายรอเจอคอนเทนต์ฮีลใจหน้าฟีดอยู่

ที่มา: https://www.mentalyc.com/blog/process-vs-content-in-therapy

https://therapybrands.com/blog/how-can-a-contextual-approach-to-therapy-benefit-patients/

https://www.buonavolpe.com/blog/you-need-content-therapy

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save