อย่างที่รู้กันดีว่าคอนเทนต์ AI ในปัจจุบันนั้นยังไม่มีนโยบาย หรือกฎหมายมาตรวจสอบได้ละเอียดมากพอ เช่นเดียวกับฝั่งของแพลตฟอร์มที่เริ่มจะหามาตรการเพื่อจัดการคอนเทนต์ประเภทนี้ให้แยกออกได้มากที่สุด ซึ่ง TikTok ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่จะมีป้ายกำกับคอนเทนต์ภาพ และวิดีโอด้วยว่าถูกสร้างมาจาก AI
ซึ่งเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยให้คอมมูนิตี้ของเหล่าครีเอเตอร์บน TikTok ปลอดภัยมากขึ้น จากการตรวจสอบความถูฏต้องของคอนเทนต์ และตรวจจับคอนเทนต์ที่สร้างด้วย AI ได้ โดยการใช้ Content Credentials ของ Coalition for Content Provenance and Authenticity (C2PA)
ทำให้ TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มคอนเทต์วิดีโอแรกที่มีป้ายกำกับ AI-generated content (AIGC) บนแพลตฟอร์ม และมีการปล่อย Media Literacy เพิ่มเติมที่ร่วมกันพัฒนากับบริษัทผู้เชี่ยวชาญอย่าง MediaWise และ WITNESS ด้วย
เรียกได้ว่าทั้งป้ายกำกับคอนเทนต์ AI และ Media Literacy ของ TikTok จะป้องกันการสับสนของเหล่า TikToker ที่ไถจอดูคอนเทนต์อยู่ทุกวันได้เป็นอย่างดี เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการพัฒนาของ AI ก็ทำให้ภาพ หรือวิดีโอที่ถูกเจนออกมามีความเหมือนจริงขึ้นทุกวัน
แต่ในช่วงแรกจะกำกับแค่คอนเทนต์ที่เป็นภาพ และวิดีโอก่อน แล้วค่อยอัปเดตตรวจจับเสียงที่สร้างด้วย AI ในภายหลัง เพราะคอนเทนต์เสียงก็ถือว่าเป็นอีกประเภทคอนเทนต์หนึ่งที่คนนิยมเจนด้วย AI และทำให้คนเข้าใจผิดไม่แพ้กัน
โดย AIGC ที่ถูกสร้างขึ้นโดย TikTok จะมีการเรียนรู้ และตรวจจับได้ว่าคอนเทนต์ที่เป็นประเภทภาพ หรือวิดีโอนั้นถูกเจนหรือมีการแก้ไขด้วย AI พร้อมกำกับก่อนแคปชันว่า “Ai generated” เช่นเดียวกับ Adobe ที่มี Content Authenticity Initiative (CAI) นั่นเอง