เพราะ TikTok ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มหลักที่สายคอนเทนต์ต้องเข้าไปลงสนามแข่งขันด้านคอนเทนต์ด้วย ทั้งแบรนด์ และครีเอเตอร์ต่างก็อยากเติบโตมากขึ้นในแพลตฟอร์มนี้ ดังนั้น TikTok เลยมีทิปสำหรับการครีเอทีฟคอนเทนต์มาแชร์กัน เพื่อเพิ่มการขับเคลื่อนยอดเอ็นเกจเมนต์ให้มากขึ้น!
สิ่งสำคัญในการสร้างคอนเทนต์ นอกจากจะต้องทำให้เป็นที่น่าจดจำแล้ว ยังต้องสามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราได้ด้วย เพราะอิสระในการเลือกรับชมมีเดียบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของผู้ชมนั้นมีอิทธิพลอย่างมาก
โดยเฉพาะ TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์มรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ การสร้างคอมมูนิตี้ และการคอลแล็บร่วมกันระหว่างครีเอเตอร์หรือแบรนด์ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ อย่างหลากหลายบนโลกของคอนเทนต์วิดีโอสั้น ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์สำหรับแบรนด์ หรือแคมเปญต่าง ๆ ก็ตาม
TikTok ก็ได้มองเห็นช่องทางที่เป็นโอกาสเหล่านั้น และได้แจกทิปสำหรับสายครีเอทีฟขึ้นมา เพื่อให้แบรนด์ หรือครีเอเตอร์สามารถไดร์ฟคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์อย่างมีอิมแพค แต่จะมีทิปอะไรเจ๋ง ๆ ให้นำไปประยุกต์ได้บ้าง? ตามไปดูกันเลย!
Brand-Led and Creator-Led
ผสมผสานความเป็นแบรนด์และครีเอเตอร์
ไม่ว่าคอนเทนต์นั้นจะเกิดขึ้นมาจากการใช้เอกลักษณ์ของแบรนด์นำ หรือว่าของครีเอเตอร์เป็นหลักก็ตาม แต่การร่วมมือกันระหว่างทั้งสองฝ่ายดูจะเป็นผลลัพธ์ที่ทำให้คอนเทนต์ออกมามีประสิทธิภาพที่สุด โดยการเดินมาคนละครึ่งทาง ไม่มีฝ่ายไหนถูกครอบกรอบความคิดจนเสียความเป็นตัวเองเกินไป
โดยเฉพาะกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เป็นแคมเปญต่าง ๆ หากใช้กลยุทธ์ที่แบรนด์ถนัด และความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายของครีเอเตอร์มารวมกัน ก็ยิ่งจะทำให้เกิดภาพจำในงานมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย และช่วยให้เกิดอิมแพคที่เหมาะสมและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ง่ายขึ้นด้วย
Creators Interact with the Product
ปล่อยให้ครีเอเตอร์รีแอ็กกับผลิตภัณฑ์
รีแอ็กชัน (Reaction) คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อในผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะรีแอ็กชันจากคนที่พวกเข้ามองว่ามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างครีเอเตอร์ที่เลือกติดตาม เพื่อให้มองเห็นไลฟ์สไตล์บนฟีดโซเชียล
แต่การแสดงรีแอ็กชันเหล่านั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ติตดามมากที่สุด จะต้องแสดงมันออกมาอย่างจริงใจ แม้จะเป็นการดีลงานเบื้องหลังกันกับแบรนด์ก็ตาม การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ปรุงแต่ง และมีเหตุผลรองรับ หรือว่ามีที่มาอ้างอิงนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่จะทำให้การร่วมงานระหว่างแบรนด์ และครีเอเตอร์สร้างความเชื่อใจ และสร้างความภักดี (Loyalty) ต่อกลุ่มเป้าหมายได้
Include a Song with Voice-Over
ใช้เสียงและเพลงสร้าง Ad Recall เพิ่มการมองเห็น
หากพูดถึงแพลตฟอร์ม TikTok สิ่งที่จะขาดไม่ได้ และเป็นพระเอกชูโรงแอปนี้ก็คงไม่พ้นเสียง และเพลงที่ช่วยสร้างอรรถรสให้กับคอนเทนต์วิดีโอสั้นนี้เกิดการไถเป็นชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการันตีได้ว่าเป็นส่วนช่วยให้คอนเทนต์หรือแคมเปญประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก หากรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม และอิงตามเทรนด์
จากการวัดผลการอยากมีส่วนร่วมของชาว TikToker พบว่าเสียงพากย์ และเสียงเพลงมีผลต่อการจดจำผลงานได้อย่างละ 2-3% เท่านั้น แต่กหากนำทั้ง 2 อย่างมารวมกันแล้ว การเลือกเพลงหรือสร้างเพลงขึ้นมาเองโดยเฉพาะ ผสมผสานเข้ากับการพากย์เสียงในเรนจ์ที่ใช่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการเลือกใช้เพลงที่แมสในกระแส TiKTok อยู่แล้วเสียอีก
Use Character Drive Memorability
สร้างภาพจำให้อิมแพคด้วยคาแร็กเตอร์ของตัวเอง
เครื่องมือในการสร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอบน TikTok นอกจากจะใส่เสียง และเอฟเฟกต์ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระแล้ว ก็มีคาแรกเตอร์ให้เลือกใช้เช่นกัน ซึ่งจากสถิติของ TikTok พบว่าการมีคาแรกเตอร์นั้น ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการไม่มีคาแรกเตอร์ให้จดจำเลย
โดยเฉพาะกับคาแรกเตอร์ที่แสดงตัวตนออกมาจริง ๆ จากมนุษย์อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เพราะเมื่อเห็นครีเอเตอร์แล้วก็จำได้ว่าเขามีไลฟ์สไตล์หรือลักษณะท่าทางการพูดอย่างไรนั่นเอง แต่การใช้คาแรกเตอร์ที่เป็นการสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบบแอนิเมชันหรือวิชวล 3D ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีรองลงมาเช่นกัน ฉะนั้นจึงอยู่ที่คุณว่าจะเลือกประยุกต์ใช้อย่างไรให้คนจำได้เสียมากกว่า
Don’t leave Branding
นำเสนอความเป็นแบรนด์ดิ้งอย่างสม่ำเสมอ
การทำแบรนด์ดิ้งส่วนใหญ่เมื่อจบกระบวนการโปรโมตของแบรนด์แล้ว เปอร์เซ็นต์การจดจำของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะเริ่มลดลง ไปจนถึงจำไม่ได้เลยเพราะว่ามีการแข่งขันในการสร้างสรรค์คอนเทนต์อยู่ทุก ๆ วัน ดังนั้นเราจึงมีกฎ 3-5 เข้ามาช่วย เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายยังคงนึกถึงแบรนด์อยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ แบรนด์แอมบาสเดอร์หรือแม้กระทั่งจิงเกิลที่ใช้กับแบรนด์บน TikTok ก็ตาม องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถใส่ความครีเอทีฟได้หมดด้วยเครื่องมือที่มี เพื่อเป็นการย้ำเตือนความเป็นแบรนด์ดิ้งไปเรื่อย ๆ ในระยะเวลาที่โปรโมต โดยไม่ต้องเน้นย้ำเพียงแค่ก่อนจะจบนั่นเอง
Highlight the Product Benefit
บอกประโยชน์ที่จะได้รับจากผลิตภัณฑ์กับลูกค้า
แม้คอนเทนต์ที่แสดงให้เห็นถึงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจบางส่วนจากกลุ่มเป้าหมายได้ แต่สิ่งสำคัญที่แบรนด์ไม่ควรลืมใส่ลงไปด้วยก็คือ ‘การบอกรายละเอียด’ โดยเฉพาะกับจุดเด่น และสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับจากผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งต้องผ่านการนำเสนอออกมาอย่างชัดเจน และในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างภาพจำให้แบรนด์เมื่อยิงโฆาณา (Ad Recall) เกี่ยวกับลักษณะที่นำเสนอออกไปได้ด้วย
จากทิปทั้งหมดที่กล่าวไปนั้น มาจากผลการวัดปละประเมินจาก TikTok เพื่อจะเสริมสร้างการขายอย่างเป็นที่น่าจดจำให้กับแบรนด์ และครีเอเตอร์ได้นั่นเอง เพราะ TikTok นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนกับสนามแข่งคอนเทนต์แล้ว ก็ยังเปรรยบเสมือนกับสังเวียนของแบรนด์ที่ต้องเอาชนะกันผ่านแคมเปญต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
ที่มา: TikTok For Buisness