PR Post

Avatar

Thesky February 28, 2024

สรุป TikTok Shoppertainment 2024 อินไซต์ล่าสุดของผู้บริโภคที่ช่วยให้แบรนด์โตได้

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา TikTok และ Accenture ได้ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน ‘Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE’ ที่เป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมเน้นย้ำถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์

โดย TikTok Shoppertainment 2024 มาจากงานสำรวจ Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE โดย TikTok และ Accenture อย่างคุณชลธิชา งามกมลเลิศ – Head of Client Partnership, TikTok และ คุณสุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director at Accenture Song, ประเทศไทย ซึ่งสรุปอินไซต์ที่น่าสนใจของผู้บริโภคในปี 2024 คือ

ผู้บริโภคแห่งยุค Shoppertainment

ในยุคนี้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ทำให้ความสนใจต่อคอนเทนต์ที่เน้นการขายแบบเดิม ๆ ลดลง เพราะมีหลายสิ่งดึงดูดความสนใจ โดยมีผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากกลุ่มตัวอย่างตามแต่ละประเทศ คือ 12% ในเกาหลีใต้และประเทศไทย 27% ในประเทศญี่ปุ่น และ 41% ในอินโดนีเซีย แสดงความชื่นชอบต่อคอนเทนต์ที่ไม่เน้นการขายถึง 79%

นอกจากนี้การเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ยังบอกไว้อีกว่าผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ โดย 30% ของนักการตลาดเจ้าใหญ่มีการลดงบโฆษณาลง เพราะแบรนด์มีความจำเป็นในการปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น

  • 85% ของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแอปไปมาเสมอ
  • 90% ของผู้บริโภคมีการกดข้ามโฆษณา
  • Look for Emotional: ผู้บริโภคคาดหวังการมีอารมณ์ร่วมกับคอนเทนต์ มากกว่าคอนเทนต์ที่เน้นการขาย
  • 2 ใน 3 ของผู้บริโภคจะซื้อของเมื่อมี Emotional ร่วมด้วยกับคอนเทนต์

6 Demand spaces: ความต้องการของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าออนไลน์

Functional: ปัจจัยการเลือกซื้อจากฟังก์ชัน

  1. Validation: “Confirm for Me” > การเลือกสินค้าใหม่ล่าสุด และดีที่สุด
  2. Improvement: “Better for Me” > การซื้อสินค้าที่มีการอัปเกรดใหม่ล่าสุด เพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น
  3. Convenience: “Easy for Me” > การซื้อสินค้าที่สะดวก ง่าย คุ้มค่าผ่านการจัดส่งที่เชื่อถือได้

Emotional: ปัจจัยการเลือกซื้อจากการมีอารมณ์ และความรู้สึกร่วม

  1. Recommendation: “Advise Me” > เปิดรับคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าจากบุคคลและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. Inspiration: “Inspire Me” > ต้องการเลือกซื้อของก็ต่อเมื่อรู้สึกมีแรงบันดาลใจจากเทรนด์ หรือสินค้าที่ดีที่สุด
  3. Indulgence: “Spoil Me” > การใช้ประสบการณ์ช้อปปิ้งเพื่อปรนเปรอและตามใจตนเอง

โดยสรุปแล้ว Shoppertainment Trends ในปีนี้แบรนด์ต้องเติมเต็มในทั้งด้าน Functional และ Emotional ให้กับผู้บริโภค

โอกาสสำคัญของเทรนด์ Shoppertainment

ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโต โดยมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพราะผู้บริโภคจำนวนมากพร้อมมีส่วนร่วมกับการช้อปปิ้งผ่านคอนเทนต์ที่มีความบันเทิง และมีความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ Shoppertainment

และด้วยองค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ และคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเลือกลงทุนของ แบรนด์ที่เลือกได้ตอบโจทย์ตามความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยที่ชื่นชอบความบันเทิงและอารมณ์ขัน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นตลาดสำคัญในการเติบโต ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มูลค่าตลาด Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) มีแนวโน้มที่จะเติบโตด้วย โดยมีหมวดหมู่สินค้ายอดนิยม คือ

สินค้ายอดนิยมในตลาด Shoppertainment

  1. Fashion & Accessories: สินค้าแฟชัน และเครื่องประดับ
  2. Beauty & Personal Care: สินค้าความสวยความงาม
  3. Food & Beverages: สินค้าอาหาร และเครื่องดื่ม
  4. Electronic Devices: สินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  5. Household Items: สินค้าทำความสะอาด และดูแลบ้าน

การเติบโตสู่ยุคทองของคอนเทนต์

ส่วนหนึ่งในการเติบโตของ Shoppertainment เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้บริโภค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ

  1. Context Graph: แบบ One-way Print อย่างสื่อสิ่งพิมพ์
  2. Knowledge Graph: แบบ Search Engines
  3. Social Graph: แบบ Friends network
  4. Content Graph: แบบ Personalised และ Recommendation engine

ซึ่ง “ยุคทองของคอนเทนต์” สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการนำเสนอเนื้อหา ตลอดจนมีการปรับปรุงให้เข้ากับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภคบน TikTok รวมถึงทำให้เกิดประสบการณ์ Shoppertainment ที่ผสานการช้อปปิ้งกับคอนเทนต์ และความบันเทิงเข้าไว้ด้วยกันได้ที่การันตีโดย

  1. #TikTokMadeMeBuyIt :70B+ views
  2. #TikTokป้ายยา :6.1B+ views

Top Content triggers: อินไซต์พฤติกรรมการช้อปปิงของผู้บริโภค

การพิจารณา (Consider): ผู้บริโภคมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตัวเอง (Intuitive Decisions) ประกอบกับการหาชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิดของตัวเอง มากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วนทันทีจากการเห็นส่วนลด หรือโปรโมชัน

การบริโภค (Consume): ผู้บริโภคจะค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้อเปลี่ยนแปลงได้ จากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าง่ายขึ้น (Effortless Browse-to-Buy) ซึ่งคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าไหนมีให้กดสินค้าลงตะกร้าเลยทันทีจะขายได้เยอะกว่า

เพราะผู้บริโภคกว่า 97% ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยชอบทั้งแพลตฟอร์มที่ให้คอนเทนต์ความบันเทิง และสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าได้ในที่เดียว

  • 93% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะสามารถเสิร์ช และแอดสินค้าลงตะหร้าได้ทุกแพลตฟอร์ม
  • 80% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าจะมีข้อมูล และรายละเอียดไว้เปรียบเทียบราคา และคุณภาพในที่เดียวบนแพลตฟอร์มพร้อมตอนที่กำลังช้อปปิง

การเชื่อมต่อ (Connect): ผู้บริโภคกำลังมองหาความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และจากผลสำรวจเผยว่ากว่า 60% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลทางความคิด หลังจากได้มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์คอมมูนิตี้

โดยสรุปแล้วอินไซต์การช้อปปิงของผู้บริโภคในประเทศไทย คือ

  • 88% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลการช้อปปิงจากคอนเทนต์ที่ไม่เน้นขาย (Non-Promotional content)
  • 2.6x ของผู้ยริโภคเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเองจากการรีเสิร์ชสินค้าเองเยอะ ๆ ผ่านทั้งโซเชียลมีเดีย แะลแพลตฟอร์มอย่าง TikTok
  • 71% ของผู้บริโภคต้องการสินค้า และข้อมูลครบถ้วนอยู่ในที่เดียว ไม่ต้องเปลืองแรงหาหลายที่
  • 56% ของผู้บริโภคจะไม่ลงแรงกับการเปรียบเทียบราคาเพื่อหาดีลที่ดีที่สุดแล้ว แพลตฟอร์มไหนมีทั้งหมดรวมไว้ในที่เดียวจะได้เปรียบ

Market archetypes: ประเภทของผู้บริโภค 2024

  • Social-oriented

กลุ่มผู้บริโภคที่เชื่อในรีวิว และคำแนะนำจากคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเองในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยไม่ได้รีเสิร์ชก่อน เช่น ประเทศไทย เวียดนาม และเกาหลีใต้ ซึ่งอินไซต์ผู้บริโภคในไทยมีความสนใจตามลำดับ คือ

  1. คำแนะนำจากคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์
  2. โปรโมชัน และส่วนลดของสินค้า
  3. ข้อมูล และรายละเอียดของสินค้า
  • Product-oriented

กลุ่มผู้บริโภคที่เชื่อในอิทธิพลของคอนเทนต์ และรายละเอียดของสินค้า ทั้งราคา โปรโมชัน ส่วนลดที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า รวมถึงวิชวลของสินค้าไปจนถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ของสินค้า เช่น ประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

ทิศทางของ E-commerce และ Social Commerce ในประเทศไทย

Social Commerce ในประเทศไทยจะเติบโตขึ้นในอนาคต เพราะผู้บริโภคพร้อม แบรนด์เล็กใหญ่ต่างก็เรียนรู้ และเริ่มประยุกต์ใช้มากขึ้น เลยทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างแบรนด์สูง

อนาคต และโอกาสใน Shoppertainment

  • การทำคอนเทนต์ที่สร้างความสนุก พร้อมซื้อของได้ ทาง TikTok ก็ยังจะขับเคลื่อนความเป็น Shoppertainment ต่อไป
  • ยุคนี้แบรนด์จะพูดคนเดียวไม่ได้เพราะผู้บริโภคไม่เชื่อ เลยต้องมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ ที่สร้างคอนเทนต์แบบ UGC  เข้ามาช่วยพูดโน้มน้าวด้วย
  • การทำคอนเทนต์ หรือการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ต้องเกิดจากความกล้าที่จะทดลอง และเข้าใจผู้บริโภคก่อน

เทคนิค 3Vs สำหรับแบรนด์

  1. Value: สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า
  2. Volume: ผสมคอนต์ที่มาจากทั้งฝั่งแบรนด์ และฝั่งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์
  3. Variaty: คอนเทนต์ที่ดีต้องมีความหลากหลาย

📌 อ่าน ‘Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE’ ได้ที่นี่: https://www.tiktokshoppertainment.com/

ที่มา: TikTok Shoppertainment 2024

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save