Event/Conference

Avatar

patterest October 18, 2024

🦾 ครีเอเตอร์กับการปรับตัวในสังคมสุขภาพจิต จากงาน TikTok’s Mindful Makers

📱Social media use in teens and its mental effects

จากงาน TikTok’s Mindful Makers เสริมศักยภาพครีเอเตอร์ เพื่อการขับเคลื่อนความรู้ด้านสุขภาพจิต ด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และข้อมูลที่เชื่อถือได้บนแพลตฟอร์ม TikTok

โดย คุณพริมา พิสุทธิศรันย์ จาก SATI APP, ดร.นพ. วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต, คุณแจน จากช่อง @janjanuary1, คุณหมอตังค์ จากช่อง @dr.tangmakkaporn, คุณแม่แต้ม จากช่อง @tam.kulissara

🌟 อย่าคิดว่าเรื่องราวเกี่ยวกับจิตใจเป็นสิ่งไกลตัว

ในโลกของคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคอนเทนต์ทางการแพทย์ได้รับความนิยมมากขึ้น อย่างคอนเทนต์ด้านสุขภาพจิต ที่ปัจจุบันผู้ชมเริ่มหันมาหาความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวช

และศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับจิตใจของเรามากขึ้น รวมถึงคอนเทนต์ด้านความรักที่ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จนครีเอเตอร์ และผู้ชมจะต้องมีความตระหนักรู้ต่อการเสพ รวมถึงสร้างคอนเทนต์เหล่านั้น

👤 สร้างเกราะป้องกันทางจิตใจจากความกดดัน และความคาดหวังของ Followers

เมื่อเรากลายเป็นบุคคลสาธารณะแล้ว ก่อนที่เราจะเริ่มคอนเทนต์สักหนึ่งเรื่องออกมา เราจะต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง และไม่ใส่อารมณ์ส่วนตัวลงไป เพราะเมื่อครีเอเตอร์พูดออกไปก็เหมือนใช้ลำโพง

ประกอบกับคนที่จะมาฟังก็มาด้วยวุฒิภาวะที่ต่างกัน ทำให้เราต้องย่อยให้มันง่าย และถูกต้องมากที่สุด เพราะปัจจุบันคนสามารถค้นหาข้อมูลได้ในโลกออนไลน์ และควรจะให้แหล่งอ้างอิงเพื่อให้ผู้ชมติดตามต่อ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเอง

📌 Mental Insight

🌐 เรื่องราวสุขภาพจิตทั่วโลก

☑️ 34 ปีที่ผ่านมาปัญหาสุขภาพจิตไม่เคยหายไปจากโลก

☑️ 1 ใน 8 ของคนทั่วโลกกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิต

☑️ ทุก 40 วินาทีมีคนฆ่าตัวตาย 1 คนทั่วโลก

🇹🇭สุขภาพจิตกับประเทศไทย

☑️ ทุก 95 วินาที ในประเทศไทยมีคนฆ่าตัวตาย 1 คน

☑️ มีคนไทยเสียชีวิตจำนวน 5,550 รายจากการฆ่าตัวตาย

☑️ รัฐเจอความสูญเสียคิดเป็นเงินหลัก 100 ล้านบาทต่อปี

☑️ ประเทศไทยขาดแคลนจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โดยบางจังหวัดมีเพียงแค่ 1 คน

👧🏻 เด็กกับโซเชียล

ถึงในแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถใส่ฟิลเตอร์อายุเพื่อจำกัดการดูกับเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ได้ แต่ครอบครัวก็จะต้องเป็นหนึ่งในตัวกรอง เนื่องจากสมัยนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มใช้จอเป็นหนึ่งตัวช่วยในการเลี้ยงลูก

โดยสื่อ หรืออุปกรณ์ทั้งหลายเป็นแค่ Tools แต่ความปลอดภัยต้องขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน รวมถึงการศึกษา Guideline ของแพลตฟอร์ม เพื่อใช้ควบคุมเนื้อหา, เวลา และบุคคลที่เข้ามา ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กได้

🤖 วิธีรับมือกับ Cyberbullying ของครีเอเตอร์

ในโลกนี้ไม่มีขาวหรือดำสุด แต่สีเทาในโลกออนไลน์เป็นเหมือนการให้เกียรติกัน ถ้าเราไม่ตระหนักว่าคำพูดสามารถฆ่าคนได้สังคมโซเชียลก็จะไม่น่าอยู่ ซึ่งเราไม่สามารถห้ามคนคอมเมนต์ได้ แต่สามารถกลับมาทบทวนผลงานของเราจากคอมเมนต์เหล่านั้นได้

รวมถึงการรับมือกับคอมเมนต์แย่ ๆ และสร้าง Self-Esteem เป็นภูมิคุ้มกันในตนเอง เพื่อให้แยกแยะ วิเคราะห์ และรับมือได้

🩷 อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ เพราะทุกคนรอบข้างพร้อมที่จะช่วยเหลือเราเสมอ

จากงานวิจัยพบว่า คนที่กลั่นแกล้งคนอื่นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถูกกระทำมาก่อนทำให้กลายเป็นวงจรการกลั่นแกล้ง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องเริ่มด้วยคำว่า ความรุนแรงไม่ได้จบที่ความรุนแรง และเราจะต้องปกป้องสิทธิ์ของตนเองเพื่อให้เป็นสังคมที่ปลอดภัยมากขึ้น

1 ในปัจจัยที่คนไม่กล้ายอมรับ และไม่กล้าขอความช่วยเหลือ เพราะคิดว่าเราจะเป็นคนที่อ่อนแอในสายตาคนอื่น การที่เราจะยอมรับตัวเองได้ว่าเราถูกละเมิดสิทธิ์ หรือถูกแกล้งเป็นสิ่งที่ยาก

รวมถึงคนส่วนใหญ่ที่พบปัญหานี้จะคิดว่าขอความช่วยเหลือไปก็ไม่มีใครช่วย หรือเล่าให้คนฟังแล้วแต่โดนมองเป็นเรื่องตลก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดผลกระทบทางใจมากขึ้น

“Social Media เหมือน Playground ที่เป็นดาบสองคม เพราะเราสามารถสร้างทุกอย่างได้บนโซเชียล”

#TikTokMindfulMakers

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save