อย่างที่รู้กันดีว่ายุคนี้การหางานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะคนหันไปทพธุรกิจของตัว หรือเป็นฟรีแลนซ์กันมากขึ้น แถมบริษัทต่าง ๆ ก็มีการ layoff และผลัดเปลี่ยนพนักงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ Gen Z มี Career Path ที่ไม่แน่นอน
เพราะเป็นช่วงที่เริ่มก้าวเข้ามาสู่ตลาดแรงงานแข่งกับคนเจนอื่น ๆ แล้ว และเศรษฐกิจช่วงหลังโควิดก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวเท่าที่ควรนัก ทำให้โอกาสในการจ้างงานยังคงมีเปอร์เซ็นต์ลดลงอยู่
ฉะนั้นการสร้างโปรไฟล์ และใส่รายละเอียดให้น่าสนใจสำหรับการจ้างงานต่อไปจึงสำคัญมาก โดยมีเทคนิคที่ควรอัปเดต คือ
เติม Skill Wallet
การมีสกิลในการทำงานหลายรูปแบบนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่านี้ถ้าเราไม่ได้รู้สกิลที่ตัวเองมีคนเดียว เพราะควรใส่สกิลต่าง ๆ ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ว่าเรามีของแค่ไหน เช่น Communication Skills, Presentation Skills และ Leadership Skills เป็นต้น
และสกิลยังเป็นตัวคัดกรองการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานสำหรับบริษัท และองค์กรต่าง ๆ ด้วย นอกจากสกิลแล้ว การใส่ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานมาการันตีคู่กันก็สำคัญนะ
ไฮไลต์ Skills กับงานที่ชอบ
แน่นอนว่าทุกคนมีบริษัท และองค์กร หรือที่ ๆ อยากทำงานด้วย การไฮไลต์สกิลสำคัญที่สามารถร่วมทำงานกับที่เหล่านั้นได้ จะเป็นข้อได้เปรียบให้เขาสนใจเรามากขึ้น เพราะมีสกิลการทำงานที่พวกเขาต้องการ และทำให้อยากรู้จักเรามากขึ้น นำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการสัมภาษณ์ด้วย
สร้างแบรนด์ให้ตัวเอง
สมัยนี้การทำ Portfolio, Resume หรือ CV ก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการหางาน แต่เราควรสร้างโปรไฟล์ให้เหมือนสร้างแบรนด์ และแสดงความเป็นตัวตนออกมาให้มากที่สุด
การทำหน้าโปรไฟล์ LikedIn ให้เหมือนกับเป็นแบรนด์ของเราจะได้เปรียบในสนามการหางานมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นที่จดจำได้ง่ายแล้ว ก็ควรเพิ่ม Connection กับคนอื่น ๆ ให้มากขึ้น ไปจนถึงเลือก Topic ต่าง ๆ ที่สนใจบนโปรไฟล์ให้ดูเข้าถึงง่าย และคงรมีโซนที่นำเสนอถึงงาน หรือโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่แสดงศักยภาพของเรามากขึ้นด้วย
ทิปการสร้าง Community บน LikedIn
- เริ่มการรวมคอนเน็กชันตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือผู้คนที่รู้จักจากประสบการณ์การทำงาน
- แชร์ประสบการณ์การทำงาน และไอเดีย เพื่อซัพพอร์ตคนอื่น ๆ ในคอมมูนิตี้เดียวกัน
- ติดตามผู้คนใน LikedIn ที่เราอยากเรียนรู้จากเขา
จากการแนะนำทั้งหมด สรุปได้ว่าโอกาสการจ้างงานนั้นขึ้นอยู่กับเราว่าอยากนำเสนอให้โลก หรือคนอื่นรู้จักมุมไหน เพราะไม่ใช่แค่ฝั่งเราอย่างเดียวที่อยากได้งาน แต่ Job Seeker เองก็อยากได้คนที่พร้อมจะทำงานอย่างมืออาชีพมาร่วมงานเช่นกัน
ฉะนั้นไม่ว่ากราฟ Career Path จะเป็นกราฟพุ่งไปจนสุดทางอย่างที่หวังหรือไม่ แต่ความจริงแล้วการเผชิญทั้งปัญหา และความสำเร็จ ก็อาจทำให้กราฟของเรามีทั้งขึ้นและลงได้ โดยไม่ต้องคาดหวังแต่การบินให้สูงเพียงอย่างเดียว เพราะระหว่างทางเราเองก็ได้เรียนรู้เช่นกัน
อ้างอิง: MashableSEA