E-commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2 ปีหลังมานี้ โดยมีโรคระบาดอย่างโควิดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นต้อง Lockdown กันแบบเมื่อก่อนแล้ว
แต่พฤติกรรมการชอปปิงออนไลน์ก็ยังคงติดตัวทุกคน จนผลักดันให้ E-commerce เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ
เพราะฉะนั้นวันนี้ RAiNMaker เลยสรุปสถิติและเทรนด์ต่าง ๆ จาก WebsiteBuilderExpert ที่เป็นตัวบอกภาพรวมของ E-commerce ในปี 2022 นี้มาให้ทุกคนได้ดูเป็นแนวทางในการปรับใช้กับร้านค้าหรือแบรนด์ของตัวเองกัน
ภาพรวมสถิติ E-commerce
- 48% ใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงโควิดระบาด
- ตัวเลขผู้ใช้จ่ายผ่าน E-commerce ทั่วโลกเติบโตขึ้น 10%
- Curbside Pickup คิดเป็น 40% ของการสั่งซื้อจากช่องทางออนไลน์
เทรนด์การใช้จ่ายจากสถานการณ์โรคระบาด
การใช้จ่ายออนไลน์ในช่วงโควิดจะอยู่ในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก ก่อนหน้าโควิดระบาด มีเพียง 9% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่ซื้อของใช้ผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ในขณะนี้มีผู้บริโภค 63% ของผู้บริโภคซื้อของใช้ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึง 86% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะชอปปิงออนไลน์ต่อไปอีกในอนาคต
หมวดของใช้ในบ้านที่ได้รับความนิยมช่วงโควิด
สุขภาพ
- เครื่องฟอกอากาศ เพิ่มขึ้น 14%
- เครื่องกรองน้ำ เพิ่มขึ้น 23%
- เครื่องซักผ้าระบบ Steam เพิ่มขึ้น 46%
อุปกรณ์สำหรับ Work from home
- แล็ปท็อป เพิ่มขึ้น 34%
- จอมอนิเตอร์ เพิ่มขึ้น 31%
- เซ็ตหูฟัง เพิ่มขึ้น 31%
เครื่องครัว
- เครื่องทำกาแฟ เพิ่มขึ้น 39%
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว เพิ่มขึ้น 99%
- เครื่องปั่น เพิ่มขึ้น 53%
เทรนด์ Curbside Pickup กำลังมา
การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน จากนั้นทางร้านค้าก็จะเตรียมผลิตภัณฑ์ไว้ให้ ผู้ซื้อก็สามารถไปรับผลิตภัณฑ์เองได้ที่จุดรับของโดยที่ไม่ต้องเดินเข้าไปเอาในร้าน
เทรนด์นี้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เริ่มมีโควิดระบาด และ 87% ของผู้บริโภคต้องการให้ร้านค้าและแบรนด์ยังคงทางเลือก Curbside Pickup ไว้ต่อไป
ซึ่งผู้บริโภคที่มีความต้องการชอปปิงผ่านระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในช่วงวัย Millennials, Gen Z และ Gen X ตามลำดับ
แนวโน้มการใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคหลังโควิด
- 39% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มจะชอปปิงทั้งช่องทางออนไลน์และหน้าร้าน
- 28% ของผู้บริโภคจะชอปปิงออนไลน์เป็นส่วนมาก
- 24% ของผู้บริโภคตั้งตารอที่จะชอปปิงหน้าร้าน
- 10% ของผู้บริโภคไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างแน่ชัด
10 ประเทศที่มีตลาด E-commerce ใหญ่ที่สุด
- จีน ทำรายได้ 672 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- สหรัฐอเมริกา ทำรายได้ 340 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- สหราชอาณาจักร ทำรายได้ 99 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- ญี่ปุ่น ทำรายได้ 79 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- เยอรมัน ทำรายได้ 73 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- ฝรั่งเศส ทำรายได้ 43 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- เกาหลีใต้ ทำรายได้ 37 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- แคนาดา ทำรายได้ 30 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- รัสเซีย ทำรายได้ 20 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
- บราซิล ทำรายได้ 19 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภคกว่า 57% มีการชอปปิงผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของ E-commerce ที่ไร้ขอบเขต โดยทวีปที่มีการใช้จ่ายให้ต่างประเทศมากที่สุด คือ
- ยุโรป คิดเป็น 63.4%
- เอเชีย คิดเป็น 57.9%
- แอฟริกา คิดเป็น 55..5
- ละติน อเมริกา คิดเป็น 54.6%
รวมถึงเอเชียยังเป็นทวีปที่มีการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallets) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ โดยคิดเป็น 58.4%
ผู้บริโภคเลือกชอปปิงผ่านโทรศัพท์มากขึ้น
ช่วงหลังมานี้ผู้บริโภคเลือกใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือในการชอปปิงออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูสินค้า สั่งซื้อ หรือชำระเงิน ซึ่งคิดเป็น 24% มากกว่าการใช้งานบนเดสก์ท็อป เรียกง่าย ๆ ว่าเดสก์ท็อปเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนำร่องการขาย แต่ถ้าพูดถึงยอดการเข้าถึงแล้ว ผู้บริโภคส่วนมากเข้าผ่านโทรศัพท์มากกว่า
โดยเฉพาะช่วงโควิดทำให้ผู้บริโภคมีการใช้งานโทรศัพท์เป็นเครื่องมือในการชอปปิงออนไลน์มากขึ้น คิดเป็น 45% ด้วยกัน
ดังนั้นจึงเป็นคำแนะนำที่ดีกับร้านค้าและแบรนด์ว่าควรออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้มีความเป็นมิตรกับการใช้งานบนโทรศัพท์มากขึ้น เพื่อรองรับและให้ประสบการณ์การเข้าชมเว็บไซต์ที่ดีให้กับผู้บริโภค จนทำให้เกิดการซื้อ หรือประทับใจจนต้องอยากกลับมาซื้อซ้ำนั่นเอง
การใช้เทคโนโลยีกับ E-Commerce
การทำการตลาดแบบ Personalization
การทำการตลาดแบบเจาะเฉพาะบุคคล (Personalization) เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในการทำตลาดในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการนำข้อมูลอินไซต์ที่มีมาวิเคราะห์พร้อมส่งตรงถึงแต่ละบุคคลให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างตรงจุด
- 93% ของบริษัทพบว่ายอด Conversion เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ Personalized Marketing
- 44% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อซ้ำ เมื่อได้สัมผัสประสบการณ์แบบ Personalized Shopping
การใช้ Voice Assistants
ในปี 2023 มีแนวโน้มว่าตัวช่วยเรื่องเสียงจะถูกใช้ถึง 8 พันล้าน ย้อนกลับเมื่อปี 2019 จากผลการรายงานของ Microsoft พบว่า 40% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา อินเดีย และออสเตรเลียใช้เทคโนโลยีเสียงในการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เรียกว่าเป็นส่วนแบ่งตลาดหลักเลยก็ว่าได้
ยิ่งช่วงโควิดเกิดขึ้น ยิ่งทำให้เทคโนโลยีเสียงพัฒนาเร็วขึ้น 52% ของผู้ใช้ตัวช่วยเสียงบอกว่ามีการใช้งานเทคโนโลยีเสียงวันละหลายครั้ง หรือเกือบทุกวัน มากขึ้นจากก่อนโควิดถึง 46% ด้วยกัน
การใช้ Chatbots
นับเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนมากการทำ E-commerce ที่ผ่านช่องทางออนไลน์เช่นนี้ หลายร้านและแบรนด์ก็มีการใช้แชตบอตเพื่อเข้ามาช่วยสื่อสารกับผู้บริโภค โดยเฉพาะกับเหล่า Gen Z ที่มีความคุ้นชินกับด้านเทคโนโลยีเช่นนี้
นอกจากแชตบอตจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคแล้ว ก็ยังช่วยให้การทำงานของฝั่งร้านค้าและแบรนด์ง่ายขึ้นอีกด้วย เนื่องจากช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในส่วนของ Customer Service ได้มากถึง 30% ด้วยกัน
- 47% ของผู้บริโภคซื้อของผ่านแชตบอต
- 38% ของผู้บริโภคให้คะแนนการใช้งานผ่านแชตบอตในเกณฑ์ดี และเพียง 11% เท่านั้นที่ให้คะแนนในด้านลบ
- การค้นหาผ่าน Google พบว่าคำค้นหา ‘แชตบอต’ โตขึ้นกว่า 19 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- เกินครึ่งของผู้บริโภคบอกว่ามีแนวโน้มที่จะชอปปิงกับแบรนด์ที่ให้บริการผ่านแชตได้
- ส่วนมากแชตบอตช่วยเรื่องการตลาดตั้งแต่การให้บริการ Customer Service 95%, การขายและการทำการตลาด 55% และขั้นตอนการสั่งออเดอร์ 48%
ผู้บริโภคให้ความใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โลกในปัจจุบันที่ผู้คนตระหนักถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อร้านค้าและแบรนด์ให้ใส่ใจรักษ์โลกตามไปด้วยเช่นกัน โดยความคาดหวังของผู้บริโภคต่อแบรนด์ในด้านการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
- 52% ต้องการให้แบรนด์ลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ลง
- 52% ต้องการให้แบรนด์ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
- 48% ต้องการให้แบรนด์ออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- 44% ต้องการให้แบรนด์ใช้สารเคมีน้อยลง และเพิ่มส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
- 36% ต้องการให้แบรนด์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับนโยบายความยั่งยืน
- 29% ต้องการให้แบรนด์บริจาคให้กลุ่มนักสิ่งแวดล้อม
- 28% ต้องการให้แบรนด์ร่วมงานกับกลุ่มนักสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
ที่มา: WebsiteBuilderExpert