NewsSocialTwitter

Avatar

doyoumind July 20, 2021

พาแบรนด์บุก Personal Musing กลุ่มวัฒนธรรมที่ครองพื้นที่บทสนทนามากที่สุดบนทวิตเตอร์ประเทศไทย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบางครั้งข่าวคราวหรือประเด็นที่น่าจับตามองนั้นก็มาจากทวิตเตอร์ก่อนจะกลายเป็นกระแสนิยมไปทั่วประเทศ นั่นก็เพราะว่าคนบนทวิตเตอร์มีแนวโน้มจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ๆ
ที่มีความสนใจตรงกันมากกว่าคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปถึง 16% (GlobalWebIndex, Q2 2020 – Q1 2021) จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเด็นบนทวิตเตอร์จุดติดได้ไม่ยาก

แต่ทั้งนี้ก็ยังมีหลาย ๆ แบรนด์ที่กำลังเข้าใจผิดและคิดว่าทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่มีกลุ่มผู้ใช้เฉพาะกลุ่มมากกว่า โดยเฉพาะแฟนคลับเกาหลี แต่ในความจริงนั้นชาวทวิตเตี้ยนสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 กลุ่มวัฒนธรรมหลักเลยทีเดียว โดยอิงจากงานวิจัย From Conversation To Culture – Twitter Thailand communites and coverseation research

ส่อง 4 กลุ่มวัฒนธรรมหลักบนทวิตภพ คนไทยคุยอะไรกัน?

1. บันทึกส่วนตัว (Personal Musing)

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ บทสนทนาในวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของการไปทำงาน การเรียน หรือแม้แต่เรื่องสัพเพเหระต่างๆ

2. การเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community and Connection)

บทสนทนาในวัฒนธรรมนี้เกิดจากการรวมตัวของคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันโดยเฉพาะ พวกเขาเข้าทวิตเตอร์มาเพื่อเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนความสนใจ และอัปเดตเรื่องต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

3. การส่งพลังบวกให้ตัวเองและคนรอบข้าง (Betterment and Aspiration)

สำหรับคนที่ต้องการส่งต่อพลังบวกที่แสดงให้เห็นถึงการสร้างสังคมอันมีสุขในโลกเล็กๆ อย่างโซเชียลแพลตฟอร์มก็คงไม่พ้นคนกลุ่มนี้บนทวิตเตอร์แน่นอน เพราะเป็นวัฒนธรรมที่คนจะเข้ามาหาและคอยส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้แก่กัน เช่น การแสดงความยินดีให้แก่กลุ่มเด็กนักเรียนที่เพิ่งประกาศการเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น

4. สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ (Beauty and Wonder)

บทสนทนาในวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับการพูดถึงเรื่องราวที่ “ดีต่อใจ” หรือ “ความสุขและความฝัน” ที่ตนเองวาดหวังไว้กับคนในกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกัน เช่น การแชร์รูปสวยๆ ที่เจอมา หรือแชร์ความฝันในวัยเด็ก เป็นต้น

จากทั้ง 4 วัฒนธรรมข้างต้น จะเห็นได้ว่าคนบนทวิตเตอร์ไม่ได้มีความสนใจเฉพาะเจาะจงไปในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่มีความหลากหลายอย่างมาก เพื่อความเข้าใจต่อกลุ่มคนบนทวิตเตอร์มากขึ้น วันนี้เราจะไปเจาะลึกกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดบนทวิตเตอร์อย่างกลุ่มบันทึกส่วนตัว (Personal Musing) ว่ากลุ่มเหล่านี้มีวัฒนธรรมและความน่าสนใจอย่างไร!

บุกกลุ่มบันทีกส่วนตัว (Personal Musing) แบบเจาะลึก

ผลวิจัยพบว่าคนบนทวิตเตอร์พูดคุยเรื่องราวในกลุ่มบันทึกส่วนตัวนี้มากถึง 45% จากบทสนทนาทั้งหมด ซึ่งบทสนทนาส่วนใหญ่ที่คนกลุ่มนี้คุยกันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แกน คือ

1.บทสนทนาที่เป็นเรื่องใกล้ตัว

เมื่อเราพูดถึงเรื่องใกล้ตัว มักจะเป็นบทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวัน เรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือเป็นเรื่องที่ตนเคยฟังมาจากผู้อื่น แต่ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับความสนใจของกลุ่มผู้ใช้ได้

2. บนสนทนาที่มีเนื้อหาเป็นปกติธรรมดาทั่วไป

คนบนทวิตเตอร์ในวัฒนธรรมนี้มองแพลตฟอร์มเสมือนเป็นสมุดไดอารีเล่มหนึ่งที่บันทึกเหตุการณ์ รวมถึงความรู้สึกต่างๆ ของตนเองเอาไว้ ขณะเดียวกันก็มองว่าเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้สามารถพูดคุย และแชร์เรื่องราวกับผู้ใช้รายอื่น หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีคนคอยรับฟังเรื่องราวของเรา

กลุ่มบันทึกส่วนตัว(Personal Musing) เขาคุยอะไรกัน?

คนกลุ่มนี้แบ่งหัวบทสนทนาออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ ได้แก่

1. การพูดคุยในชีวิตประจำวัน  (Everyday Chatter)

ทวิตเตอร์เปรียบเสมือนคอมมูนิตี้ของคนที่มาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวัน อัปเดตเรื่องทั่วไป เรื่องสัพเพเหระของตัวเอง เช่น ง่วงนอน ฝนตกรถติด เป็นต้น แม้จะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อมีคนที่รู้สึกเชื่อมโยงกับข้อความนั้นก็จะสามารถเข้ามาโต้ตอบได้ทันที ถึงจะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีความสนิทสนมกันมาก่อนก็ตาม นับเป็นการส่งต่อบทสนทนาได้ง่ายและไวมาก

2. ความรักและความสัมพันธ์ (Love and Relationships)

อีกหนึ่งหัวข้อใกล้ตัวผู้คนมักพูดถึงกันในทวิตเตอร์ คือเรื่องของความสัมพันธ์ทั้งเพื่อนและคนรัก ท็อปปิกเหล่านี้กลายเป็นหัวข้อยอดนิยมที่เหล่าผู้ใช้มักจะเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยมากที่สุด ไม่ใช่เพียงแต่การรีทวีตเท่านั้น การรีพลายทวีตเองก็จัดเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกันกับหัวข้ออื่นๆ คล้ายกับการสร้างคอมมูนิตี้ที่เป็นพื้นที่สำหรับ “คนคลั่งรัก” ขึ้นมาในทันที

3. การสะท้อนมุมมองความคิด (Self Reflection)

เป็นอีกหนึ่งหัวข้อการสนทนาที่สามารถสะท้อนมุมมองความคิดของผู้เขียนออกมาได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่ทวีตมักเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ทวีตเหล่านั้นไม่สบายใจ เช่น เรื่องเครียด เรื่องไม่ดี หรือท็อปปิกอะไรก็ตามที่ทำให้เจ้าของทวีตรู้สึกไม่สบายใจในชีวิตประจำ

การเข้าใจคนบนทวิตเตอร์เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างไร?

คุณเชื่อกันหรือไม่ว่าหากคุณสามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับคนบนทวิตเตอร์ได้ อาจช่วยเพิ่มยอดขายให้แบรนด์ได้ เพราะ 34% ของคนบนทวิตเตอร์มีแนวโน้มจะสนับสนุนแบรนด์ที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันกับเขา (Cultural Relevance) (GlobalWebIndex, Q1 2021) หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ เลยก็คือ คนในทวิตเตอร์จะรักและชื่นชอบ “คนที่พูดภาษาเดียวกัน” กับเขานั่นเอง

วิธีการทำการตลาดกับกลุ่มบันทึกส่วนตัวที่ได้ผลดีที่สุด

จุดสำคัญในการเข้าหาชาวทวิตเตี้ยนในกลุ่มวัฒนธรรมบันทึกส่วนตัว คือ การกลืนเป็นหนึ่งเดียวในวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้ (Culture Relevance) ซึ่งมี 2 เคล็ดลับ ได้แก่

1.สร้างแบรนด์แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ

แบรนด์สามารถเข้าหาคนกลุ่มนี้ได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแทรกซึมไปในบทสนทนาเล็กๆ น้อยๆ ของคนเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอให้แบรนด์กลายเป็นสิ่งคุ้นชินในชีวิตประจำวันของพวกเขา

2. ไม่ควรเน้นการสื่อสารเชิงองค์กรมากเกินไป

เพราะสิ่งที่ชาวทวิตเตี้ยนกลุ่มนี้คุยกันมักเป็นเรื่องส่วนตัว หากต้องการเข้าหาคนกลุ่มนี้บนทวิตเตอร์ ทางแบรนด์เองต้องใช้ทักษะและความสร้างสรรค์ที่จะกลายเป็นภาษาเดียวกันกับชาวทวิตเตี้ยนได้ถึงจะดี ไม่ควรเน้นหนักที่เรื่องขององค์กร

Personal Musing เป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่ครองพื้นที่ใหญ่ที่สุดบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ และเป็นกลุ่มที่เน้นการพูดคุยเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าแบรนด์ไหนก็เข้ามาทำการตลาดอย่างมีอิสระได้ไม่ยาก หากแบรนด์ไหนสนใจ ปรึกษา MediaDonuts
ตัวแทนจำหน่ายโฆษณาอย่างเป็นทางการของทวิตเตอร์ในประเทศไทยได้เลยที่ marketingSEA@mediadonuts.com

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save