เพราะความสำคัญของอาชีพ “Creator” เริ่มมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะกับแบรนด์ จึงเกิดเป็น “Creator Marketing” กลยุทธ์การตลาดแบบใหม่ที่ทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับคอมมูนิตี้ต่าง ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการคอลแลบระหว่างครีเอเตอร์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนควรปรับตัวเข้าหากันยังไง RAiNMaker มี Ultimate Guide มาแชร์กันในบทความนี้แล้ว!
หากการตลาดเปรียบเสมือนเกมสำหรับแบรนด์ ก็ควรมีการวางตำแหน่งให้แบรนด์ของเราเป็นตัวกำหนด และควบคุม วางแผนเกมนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดให้มากที่สุด ซึ่งเป้าหมายที่ว่าอาจจะไม่ใช่แค่การเอาชนะใจกลุ่มเป้าหมาย หรือสื่อสารเพื่อเพิ่มยอดขาย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายให้ยั่งยืน พร้อมแบรนด์ดิงที่แข็งแรง และเข้าถึงง่ายในเวลาเดียวกัน จึงต้องอาศัยตัวเชื่อมโยงอย่างเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์เข้ามาเป็นตัวกลาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายไม่ได้แค่รู้จักแบรนด์ แต่ต้องมีความเชื่อในแบรนด์ด้วย
ประเภทของ Creator Marketing
- Influencer: ผู้ที่สร้างการรับรู้ (awareness) และแชร์ความสามารถที่โดดเด่นแตกต่างไปตามคาแรกเตอร์
- Content Creators: ผู้ที่โฟกัสเกี่ยวกับ Digital Marketing ที่เข้าใจเรื่องของ SEO และกระบวนการในการสร้างคอนเทนต์
- Social Media Content Creators: ผู้ที่แอ็กทีฟบนโลกโซเชียลมีเดีย และทำคอนเทนต์ที่ประกอบไปทั้งการให้ความบันเทิง (entertainment) หรือความรู้ที่สนุก (Edutainment) และการให้แรงบันดาลใจ (inspiring content)
Content Creator Strategy: กลยุทธ์การทำตลาดครีเอเตอร์ให้สำเร็จ
- รีเสิร์ช และหาข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง, กลุ่มเป้าหมาย และเทรนด์ที่สร้างโอกาสให้กับแบรนด์
- ตั้งค่าเป้าหมาย และ KPI ให้ชัดเจนว่าทำไปเพื่ออะไร
- เลือกกลยุทธ์ที่เป็นท่าไม้ตายของแบรนด์ เช่น คอนเทนต์มีคุณภาพ หรือการทำอีเวนต์ และเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์
- รู้จักใช้ Social Media Tools ในการลงตาราง หรือตั้งโพสต์คอนเทนต์
- สร้างคอนเทนต์ที่มีบรีฟผสมผสานการให้ประโยชน์ สร้างคุณค่า และมีความครีเอทีฟ
- รู้จักใช้ดาต้าเบสของเหล่าอินฟลูเอเนซอร์ที่มีการอัปเดตสม่ำเสมอ เพื่อค้นหา และเปรียบเทียบอินฟลูเอนเซอร์แต่ละสายในการนำมาร่วมแคมเปญ หรือโฆษณาได้
- โปรโมตแคมเปญที่เน้นการสร้าง Value ให้กับแบรนด์
- มอนิเตอร์แคมเปญ และซัพพอร์ตเหล่าครีเอเตอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- หากกังวลที่แบรนด์จะเข้าร่วมสนาม Creator Marketing ก็สามารถร่วมมือกับ Influencer MArketing Agency แทนได้
ทำไมต้อง Creator Marketing?
กลยุทธ์การตลาดนี้จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ของแบรนด์ และออนไลน์ครีเอเตอร์ได้มากขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนคอมมูนิตี้ของกลุ่มเป้าหมายระหว่างกัน รวมถึงยิ่งได้ทำความรู้จัก หรือร่วมมือกับครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์แตกต่างประเภทกันไป ก็มีโอกาสที่แบรนด์จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายมากขึ้นด้วย
- Personalized Content
“ผู้คนจะซื้อของ ก็ต่อเมื่อรู้จัก รู้สึกชอบ และรู้สึกเชื่อใจแบรนด์” และบางครั้งแบรนด์ก็ไม่ใช่คนที่จะสามารถมีอิทธิพลต่อคนอีกทีได้ จึงต้องมีครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์เข้ามาทำหน้าที่นี้แทน เพื่อให้แบรนด์ดูเข้าถึงง่าย และมีความเป็นมนุษย์ด้วย User-generated Content (UGC) ที่มีอินไซต์ และกล้าพูดเรื่อง pain point เพื่อให้แบรนด์เป็นสิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้
- Stronger Connection
เพราะครีเอเตอร์มีแรงจูงใจคนมากกว่าแบรนด์ เนื่องจากพวกเขามีความเข้าใจว่า Target Audience เจอปัญหาอะไร และต้องการอะไรมาแก้ รวมถึงพูดในสิ่งที่แบรนด์พูดไม่ได้ด้วย และในฐานะที่ครีเอเตอร์มีอิสระมากกว่าแบรนด์ จึงทำให้เกิดการไดร์ฟคอมมูนิตี้ และเอ็นเกจเมนต์ให้คนพูดถึงมากกว่าที่แบรนด์ทำได้
- Lower Cost per Lead
การโปรโมตเพื่อให้ผู้คนสนใจนั้นมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายเสมอ ยิ่งอยากให้คนสนใจเยอะก็ต้องลงทุนเยอะ แต่บางครั้งการลงทุนเยอะก็ไม่ได้หมายความว่าคนจะสนใจเยอะเช่นกัน ทั้งนี้การคอลแลบ หรือเป็นพาร์ตเนอร์กับครีเอเตอร์จึงเปรียบเสมือนกับช่องทางแบบ Fast-pass สำหรับแบรนด์ไปเลย
เพราะ Cost per Lead ที่แบรนด์ได้รับเมื่อร่วมงานกับครีเอเตอร์ ไม่ได้มีแค่การพา target audience ไปทำความรู้จักกับแบรนด์ แต่ยังมีการบอกต่อให้ target audience กลุ่มอื่นได้รู้จักกันข้ามคอมมูนิตี้อีกด้วย
แต่โดยสรุปแล้วแม้จะทำความเข้าใจ Key Metrics ทั้งหมดในการทำงานร่วมกันกับแบรนด์ แต่ท้ายที่สุดแล้วแบรนด์ก็ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัด เพื่อต่อยอดการร่วมงานกับครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ต่อไป และเปลี่ยนให้ Key Metrics กลายมาเป็น Action ให้ได้นั่นเอง