จากเดิมที่ผู้คนมักจะรู้จักคำว่า ‘Social Listening’ ที่ใช้วิเคราะห์ความเคลื่อนไหว และเอนเกจเมนต์จากกลุ่มเป้าหมาย (audience) ที่มีบทสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์ หรือสินค้ารวมถึงคู่แข่งในตลาดเดียวกันบนแพลตฟอร์มได้ ในตอนนี้เมื่อ E-commerce Listening และ Affiliate ในไทยมาแรงมากขึ้น ก็ทำให้ ‘E-commerce Listening Listening’ กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าจับตาในวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ไปแล้ว
ซึ่งทั้ง Social Listening และ E-commerce Listening ต่างก็เป็นกลยุทธ์การทำการตลาดโดยมาจากการฟังเสียงลูกค้าเหมือนกัน ต่างกันตรงที่เสียงนั้นมาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์ม E-marketplace เพราะในตอนนี้วิเคราะห์แค่ช่องทางโซเชียลอย่างเดียวอาจไม่พอ
มูลค่าตลาด E-commerce ในประเทศไทย
จากข้อมูลของ Priceza ในงาน DAAT DAY 2024 ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าตลาด E-commerce ในไทยปี 2024 จะแตะ 1.1 ล้านบาท และเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงปี 2027 ที่ 1.6 ล้านบาท เลยทำให้ แพลตฟอร์ม E-Marketplace, Social Commerce และ Chat Commerce เกิดการแข่งขันสูง
E-commerce Landscape: ช่องทางนักชอปไทย
- Shopee: 75%
- LAZADA: 67%
- TikTok: 51%
- Facebook: 39%
- LINE: 24%
- YouTube: 18%
- Instagram: 16%
- X (Twitter): 9%
- Amazon: 9%
- Central Online: 9%
เมื่อสรุปข้อมูลสถิตินักชอปไทยได้แล้ว จะพบว่าผู้คนใช้เวลาในการชอป และทำความรู้จักแบรนด์ใหม่ ๆ ผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม E-marketplace มากกว่า Social Commerce อีกทั้งค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม E-marketplace ยังเริ่มสูงขึ้นสำหรับร้านค้าที่เปิดชอปด้วย
ฉะนั้นการวิเคราะห์ E-commerce Listening ให้เป็น และนำมาต่อยอดกับแบรนด์จึงสำคัญมากสำหรับมองหาโอกาสในตลาดในปีนี้
E-commerce Listening
การวิเคราะห์ที่รวม E-commerce Data, Big Data & AI และ Market Analysis เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อทำให้สามารถมองเห็นอินไซต์ และภาพรวมของแบรนด์ได้
- Opportunity Finder: วิเคราะห์โอกาสของแบรนด์ ว่าอะไรขายดี หรือขายไม่ดี รวมถึงหาเหตุผลควบคู่ไปกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายด้วย เพราะการตลาดดีแต่ยอดขายไม่ดีอาจจะตั้งกลุ่มเป้าหมายผิด หรือการตลาดไม่ดีแต่ยอดขายดีเพราะขายถูกกลุ่มแล้ว
- Trending Product Analysis: วิเคราะห์เทรนด์ของสินค้า ว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจ หรือค้นหาสินค้าแบบไหน พร้อมวางแผนหาอินไซต์ในระยะยาวหาสินค้าไหนที่มีแนวโน้มจะขายดี และติดเทรนด์ในอุตสาหกรรมของแบรนด์ต่อไป หรือไม่ก็สร้าง ‘Trendsetter’ จากสินค้าของตัวเองได้
- Competitor Insights: วิเคราะห์อินไซต์ของคู่แข่ง ว่าอะไรที่คู่แข่งขายดี หรือขายไม่ดี และแตกต่างจากแบรนด์ของเรายังไงบ้าง เพื่อเทียบจุดแข็ง และจุดอ่อนตามกระแสความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ
E-commerce Listening Insight
ฟีเจอร์ช่วยเพิ่มโอกาสทางการขาย โดยการเข้าไปดูอินไซต์ของร้านแบบภาพรวมได้ พร้อมการแสดงผลแบบกราฟ เพื่อให้รู้ถึงยอดขาย จำนวนคำสั่งซื้อ และอัตราการซื้อสินค้า เพื่อให้นำไปต่อยอดในการลงขายสินค้าได้
- จัดอันดับสินค้าในร้าน: ทั้งสินค้าที่มียอดเข้าชมมากที่สุด หรือถูกกดลงตะกร้ามากที่สุด รวมถึงสินค้าที่สามารถสร้างยอดขายมาจัดอันดับในแต่ละช่วงเวลาที่เลือกได้
- ตรวจสอบย้อนหลัง และวางแผนการขายล่วงหน้า: ข้อมูลในแถบ“ยอดขาย” จะช่วยให้รวจสอบจำนวนเข้าชมสินค้าในแต่ละช่วงเวลา ทั้งแบบชำระเงินแล้ว และยังไม่ชำระ เพื่อให้างแผนในการทำการตลาดกับสินค้าภายในร้านได้
- สรุปภาพรวมร้านค้า: เลือกตัวชี้วัดที่ต้องการตรวจสอบได้ไม่เกิน 4 ตัวชี้วัด เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อ เช่น คำสั่งซื้อ, ยอดขายเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อ, ยอดชมสินค้า และจำนวนผู้เยี่ยมชม เป็นต้น
- อัตราการซื้อสินค้าจากการแชต: กราฟแสดงข้อมูลรายการคำสั่งซื้อที่ได้รับการยืนยันจากการตอบกลับแชตของร้าน
- Marketing Tools: แถบการตลาด เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของแต่ละโปรโมชันของร้าน เช่น โค้ดส่วนลด, Bundle Deals, Follow Prize, Flash Sale ในร้านค้า และ Add-on Deal เป็นต้น
วิธีการเข้าใช้งาน
เข้าสู่ “Seller Center” ผ่าน ‘Business insights’ ได้ 3 ช่องทาง คือ
- เลือกคำว่า Business insight ตรงแถบด้านซ้ายมือ
- เลือกคำว่า “เพิ่มเติม” เพื่อเข้าสู่ Business insight
- เลือกที่ผังเมนูด้านบน และคลิกที่ ไอคอน Business insights
เครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจของ Lazada ที่ช่วยให้ติดตามประสิทธิภาพร้านค้า พร้อมตัวชี้วัดที่ต้องการ เพื่อปรับอินไซต์ และแก้ไขได้ถูกจุดเพื่อปรับปรุงยอดขายได้
เครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจ
- เพิ่มสต็อกสำหรับสินค้าขายดี
- ติดตามเทรนด์สินค้า และคีย์เวิร์ดยอดนิยมของร้าน
- ปรับปรุงรายละเอียดสินค้า และราคาให้แข่งขันได้
- เพิ่มจำนวนรายการสินค้าทั้งในส่วนของแบรนด์/หมวดหมู่สินค้า/ประเภทของสินค้า
- มีการอัปเดตข้อมูลการวิเคราะห์ทุกวันตอนเช้า
- สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนี้
- เมื่อวานนี้
- 7 วันที่ผ่านมา
- 30 วันที่ผ่านมา
- ทำการเลือกวัน: วันใดก็ได้ในช่วง 90 วันที่ผ่านมา
- ทำการเลือกสัปดาห์: สัปดาห์ใดก็ได้ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
- ทำการเลือกเดือน: เดือนใดก็ได้ในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา
Performance Data
ข้อมูลการวิเคราะห์ร้านค้า (Store page) บน TikTok Shop เพื่อค้นหาความสนใจของกลุ่มเป้าหมายนักชอปบนแพลตฟอร์มมากที่สุด รวมถึงนำไปต่อยอดการวิเคราะห์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายอยู่ในหน้าร้านได้นานขึ้นด้วย โดยสามารถหา ‘Data Trends’ ได้จาก ‘Traffic Source’
Sales Indicators
- GMV: จำนวนการสั่งซื้อโดยตรงจากหน้าร้านในช่วงเวลาที่เลือก รวมถึงการคืนเงิน และคืนสินค้าด้วย
- Items Sold: จำนวนสินค้าในการสั่งซื้อโดยตรงจากหน้าร้านในช่วงเวลาที่เลือก
- Buyers: จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ชำระเงินการสั่งซื้อโดยตรงจากหน้าร้านในช่วงเวลาที่เลือก
- Avg. GMV: จำนวนเงินเฉลี่ยที่กลุ่มเป้าหมายใช้จ่ายโดยตรงจากหน้าร้านตามช่วงเวลาที่เลือก
Traffic Indicators
- Visitors: จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่นับไม่ซ้ำกัน และเข้ามาดูหน้าร้านตามช่วงเวลาที่เลือก
- Page Views: ยอมเข้าชมหน้าร้านตามช่วงเวลาที่เลือก
- View to Click Rate: ค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายที่คลิกดูรายละเอียดสินค้าหลังจากเยี่ยมชมหน้าร้านในช่วงเวลาที่เลือก
- Click to Paid Rate: เปอร์เซ็นต์ของผู้ซื้อสินค้าทั้งหมด หารกับกลุ่มเป้าหมายที่นับไม่ซ้ำกัน หลังจากคลิกดูรายละเอียดสินค้าหลังจากเยี่ยมชมหน้าร้านในช่วงเวลาที่เลือก
โดยการสรุป และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดบน TikTok Shop สามารถเลือกช่วงเวลาได้ ทั้งเมื่อวาน, 7 วันที่ผ่านมา และ 28 วันที่ผ่านมา พร้อมดาวน์โหลด performance ออกมาดูได้
Priceza x Wisesight: eTAILLIGENCE
แพลตฟอร์มการตลาดอัจฉริยะจากความร่วมมือกันระหว่าง Priceza และ Wisesight พร้อมการสนับสนุนจากภาครัฐในโครงการ CONNEXION ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นผู้ช่วยนักการตลาดออนไลน์ วางแผนกลยุทธ์ อัปเดตเทรนด์สินค้า พร้อมเพิ่มยอดขายบน Shopee และ Lazada
- Market Analysis: เห็นภาพรวมการตลาดบน Shopee และ lazada พร้อม Advanced Search Mode เสิร์ชหาข้อมูลสินค้าได้
- ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดแบรนด์ ร้านค้า ราคาสินค้า หรือช่องทางการขายบน Shopee Mall และ LazMall
- แสดงภาพรวมตลาด มูลค่าการขาย จำนวนชิ้นที่ขายได้ ราคาเฉลี่ย และจำนวนการรีวิว
- ส่วนแบ่งตลาด เช็ก Top 10 ร้านค้าขายดี หรือ Top 10 แบรนด์ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
- เทรนด์ยอดขาย แสดงกราฟโดยประมาณของสินค้าหรือตัวกรองที่ใช้ค้นหาในแต่ละสัปดาห์เพื่อกูเทรดน์ และวางแผนจากแนวโน้มการขาย
- เทรนด์การตั้งราคา แสดงกราฟการตั้งราคาโดยเฉลี่ย และสัดส่วนราคาขายอบ่งจากจำนวนสินค้าในระบบ
- Top 11 ขายดี! แสดงข้อมูลรูป ชื่อสินค้า ราคาขาย และยอดขายโดยประมาณ
- Product Explorer: แหล่งรวมข้อมูลร้านค้าออนไลน์จาก Marketplace Platform ที่นำมาวิเคราะห์ได้ในที่เดียว ทั้งข้อมูลสินค้า ร้านค้า และเทรนด์การเติบโต
- Store Explorer: วิเคราะห์ประสิทธิภาพการขายของร้าน และคู่แข่งได้ พร้อมกราฟแสดงเทรนด์ ราคา และยอดขายที่ทำได้ กับ Top สินค้าขายดี
สรุปแล้วจากข้อมูลอินไซต์ของ E-marketplace ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada หรือ TikTok Shop และแพลตฟอร์มอย่าง eTAILLIGENCE ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้านได้ อยู่ที่ว่าจะหยิบส่วนไหนมาใช้ต่อยอด เพื่อสร้างกลยุทธ์ หรือแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มยอดขายในอนาคตให้กับครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ หรือแบรนด์ที่มีช่องทางการขายของตัวเองต่อไป
ที่มา: https://www.revuze.it/blog/ecommerce-listening/
https://blog.converted.in/en-us/blog/social-listening-for-ecommerce-what-is-it-why-and-how-to-use/