News

Avatar

Thesky December 27, 2022

อัปเดตการวัดยอดเอ็นเกจเมนต์ คีย์โซเชียลที่แบรนด์ และเอเจนซีต้องรู้!

เมื่อโลกโซเชียลวัดมูลค่ากันด้วยยอดเอ็นเกจเมนต์ และขับเคลื่อนด้วยอิทธิพลของไลก์ คอมเมนต์ แชร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้รู้ว่าแบรนด์ของเราอยู่ตำแหน่งไหนในตลาดเดียวกันกับคู่แข่ง ซึ่งความสำคัญเหล่านี้ทาง RAiNMaker เลยมาอัปเดตการวัดยอดเอ็นเกจเมนต์เพื่อแบรนด์ และเอเจนซีกัน!

ซึ่งยอดเอ็นเกจเมนต์สำคัญพื้นฐานก็คงไม่พ้นยอด Reach หรือ Impressions ที่วัดจากการมองเห็นคอนเทนต์เป็นอันดับแรก ต่างกันแค่ Impressions จะมีการนับยอดการมองเห็นซ้ำ แม้จะไม่ได้เข้ามาดู หรือมีการดูอีกครั้งก็ตาม

แล้วการวัดยอดเอ็นเกจเมนต์แบบไหนบ้างล่ะที่จำเป็นสำหรับการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ หรือวัดการเติบโตในตลาดได้? มาเช็กกันได้ที่นี่เลย!

Audience Growth Rate 

คือการวัดยอดการเติบโตของเพจ หรือแบรนด์ได้ ซึ่งคิดมาจากผู้ติดตามใหม่ที่เข้ามาติดตามเพจ หรือแบรนด์ของเราในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น กำหนดเกณฑ์การวัดการเติบโตทุกเดือน หรือ 3 เดือน เป็นต้น

โดยมีวิธีง่าย ๆ คือนับทบยอดผู้ติดตามใหม่ไปเรื่อย ๆ แล้วนำมาคำนวณก็จะรู้เกณฑ์การเติบโตของแบรนด์เราได้ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณฝั่งแบรนด์คู่แข่งได้อีกเช่นกัน

เหมาะสำหรับ: วัดยอดการเติบโตของแบรนด์ หรือแทร็กกิ้งการเติบโตของแบรนด์ได้จากจำนวนที่ชัดเจน 

ข้อดี:  

  • วัดการเติบโตเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างชัดเจน เพราะยอดผู้ติดตามมีความเป็นรูปธรรม และคำนวณได้ง่าย
  • วัดการสร้างการรับรู้ (Awareness) ของแบรนด์ได้ เพราะยิ่งมีคนอยากติดตาม หรืออยากรู้จักแบรนด์มากขึ้นก็จะกดติดตามนั่นเอง

ข้อควรระวัง: 

  • ยอดผู้ติดตามมีขึ้นลงเสมอ การวัดจากผู้ติดตามใหม่จึงอาจไม่แน่นอนในบางครั้ง ซึ่งอาจทำให้มียอดเฉลี่ยออกมาขึ้นลงบ้างเป็นธรรมดา

Engagement Rate 

ไม่ว่าจะเป็นยอดไลก์, ยอดแชร์, คอมเมนต์ หรือยอดวิว (View) ก็นำมาคิดเป็นยอดเอ็นเกจเมนต์บนโซเชียลมีเดียได้ ซึ่งสามารถนำค่าเฉลี่ยยอดเอ็นเกจเมนต์มาคำนวณร่วมกับยอดผู้ติดตามใหม่ได้อีกด้วย

เหมาะสำหรับ: วัดยอดการเติบโตด้านเอ็นเกจเมนต์ของแบรนด์ เหมาะกับแบรนด์ที่สนใจด้าน KPI เป็นเอ็นเกจเมนต์ 

ข้อดี:  

  • วัดความสนใจของผู้ติดตามแบรนด์อย่างชัดเจน เนื่องจากการแสดงรีแอ็ก หรือมีส่วนร่วมกับโพสต์เป็นยอดเอ็นเกจเมนต์ได้ จะต้องมาจากความสนใจของผู้ติดตามเอง
  • วัดแนวทางคอนเทนต์ที่แบรนด์ควรทำได้ เพราะยอดไหนที่ได้เอ็นเกจเมนต์ดี แปลว่าผู้ติดตามชอบคอนเทนต์แนวนั้น จึงสามารถทำนายทิศทางของแบรนด์ได้ระยะหนึ่ง 

ข้อควรระวัง: 

  • คำนวณได้แต่ละโพสต์เท่านั้น เพราะยอดเอ็นเกจเมนต์แต่ละโพสต์ไม่เท่ากัน ฉะนั้นจึงไม่ควรยึดติดกับยอดเหล่านี้มากจนเกินไป เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้าง Value Content และผู้ติดตามสามารถจดจำแบรนด์ดิงได้

Virality Rate 

เป็นการคำนวณที่คล้ายกับการวัดด้วยความไวรัลของแบรนด์ เพราะมีการนำยอดแชร์ และยอด Impressions มาคำนวณร่วมกัน

ซึ่งเมื่อเวลามีคนแชร์คอนเทนต์ของแบรนด์ก็นำเป็นโอกาสที่แบรนด์จะสามารถไวรัลได้ ดังนั้นแบรนด์ที่อยากรู้เรตการไวรัลของตัวเองว่าอยู่ระกับไหนก็สามารถใช้สูตรนี้คำนวณได้

เหมาะสำหรับ: วัดยอดการแชร์ และกระจายโพสต์ของแบรนด์ เพื่อดูว่าอยู่ระดับไหนในการเป็นแบรนด์ที่มีความไวรัล

ข้อดี:  

  • วัดการเป็นที่รู้จักของแบรนด์อย่างชัดเจน เพราะการแชร์โพสต์จากผู้ติดตามสามารถทำให้ผู้คนใหม่ ๆ ที่ไม่ได้ติดตามมองเห็นได้
  • วัดการกระจายของกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้ เนื่องจากการแชร์โพสต์ทำให้คอนเทนต์มีการกระจายตัวมากขึ้น

ข้อควรระวัง: 

  • เพราะวัดจากยอดอิมเพรสชัน ยอดการมองเห็นจึงมีการนับซ้ำจากคน ๆ เดียว และไม่สามารถวัดได้คงที่ เพราะคนเดียวสามารถดูโพสต์ได้หลายครั้ง 

Click-through rate (CTR)

เป็นการวัดจากยอดการคลิกลิงก์ของผู้ติดตามเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ ซึ่งแสดงได้ถึงการมีความสนใจในคอนเทนต์ หรือแบรนด์ของเรานั่นเอง

และยังเป็นเป็นตัววัดแนวโน้มได้ดีเลยทีเดียวว่าแบรนด์ของเรามีโพสต์ที่น่าดึงดูดผู้ติดตามพอหรือไม่เพราะการคำนวณจะมีการนำยอดผู้ติดตามมาคิดด้วย

เหมาะสำหรับ: วัดยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ผ่านการคลิกลิงก์ แบรนด์ไหนอยากวัดยอดความสนใจสามารถใช้สูตรนี้คำนวณได้เลย

ข้อดี:  

  • วัดการมีส่วนร่วมกับผู้ติดตาม หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้ เพราะลิงก์จะขึ้นแค่ส่วนของปกคอนเทนต์ แต่หากสนใจเนื้อหาต้องคลิกเข้าไปอ่าน หากพาดหัวหรือภาพน่าสนใจพอก็จะ
  • วัดทิศทางคอนเทนต์ที่ผู้ติดตามสนใจอย่างชัดเจน เพราะยิ่งมีการคลิกเข้าไปมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์มาก แสดงว่าแบรนด์ดิงนี้ดึงดูดคนได้ดี

ข้อควรระวัง: 

  • การคลิกลิงก์วัดได้เฉพาะความสนใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเนื้อหาข้างในอ่านจบหรือไม่รวมถึงวัดได้ต่อโพสต์ด้วย เพราะไม่ใช่ทุกโพสต์ที่จะดึงดูดคนได้ยอดเท่า ๆ กัน

Cost-per-click (CPC) 

เป็นเรื่องปกติที่อยากให้มีคนมองเห็นแบรนด์ก็ต้องลงทุนซื้อโฆษณาให้มีพื้นที่โปรโมตแบรนด์เพิ่มขึ้น ซึ่งยอดการมองเห็นโฆษณาก็สามารถวัดได้เช่นกัน

เหมาะสำหรับ: วัดยอดการมองเห็นโฆษณาของแบรนด์ โดยเฉพาะบนโซเชียลที่กลายเป็นพื้นที่ให้เช่าที่ซื้อโฆษณาไปแล้ว

ข้อดี:  

  • วัดความคุ้มค่าในการยิงโฆษณาสำหรับแบรนด์ เพราะค่ายิงแอดเป็นต้นทุนสำคัญ จึงต้องคอยวัดเสมอว่าต้นทุนที่เสียไปคุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้มามากพอหรือไม่
  • วัดแนวโน้มโฆษณาที่ผู้ติดตามให้ความสนใจ เพราะโฆษณาที่ผู้ติดตามสนใจมาก ยอดการคลิกเพื่อเข้าไปรับชมก็จะมากตามไปด้วย ทำให้รู้ทิศทางของโฆษณานั่นเอง

ข้อควรระวัง: 

  • การวัดยอดคลิกโฆษณาบอกแค่ความสนใจ แต่ไม่รู้ Paid Journey ของผู้ติดตามว่ามีการซื้อหรือไม่ นอกจากการยิงโฆษณาจะเชื่อมต่อ Call to Action (CTA) ไปยังหน้าคลังสินค้าของแบรนด์ด้วย

Social share of voice (SSoV) 

Social Voice คือเสียงสำคัญในโซเชียลที่ใช้วัดจำนวน และความคิดเห็นในการพูดถึงแบรนด์ ว่าคนในโซเชียลทั้งที่ติดตาม และไม่ติดตามมองแบรนด์ของเราเป็นแบบไหน หรืออยู่ตำแหน่งไหนกับคู่แข่ง

เหมาะสำหรับ: วัด Social Voice ที่มีคนพูดถึงแบรนด์ หรืออยากหาจุดยืนของแบรนด์ และปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพของแบรนด์ต่อไป

ข้อดี:  

  • วัดความคิดเห็นของผู้คนที่มีต่อแบรนด์ และคู่แข่ง เพราะในโซเชียลจะมีความคิดเห็นเปรียบเทียบที่หลากหลาย
  • วัดตำแหน่งแบรนด์ (Position) ในวงการเดียวกันได้ 

ข้อควรระวัง: 

  • เพราะวัดจากการเมนชัน อาจทำให้มีตกหล่นเพราะการสะกดคำผิด เนื่องจาก Social Voice คือการพิมพ์ความคิดเห็นลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีทั้งการติดแท็กเมนชันถึงชื่อแบรนด์ และไม่ได้ติดแท็ก

อ้างอิง: Hootsuite

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save