หากพูดถึง TikTok Analytics สำหรับการวัดยอดเอ็นเกจเมนต์ที่ได้รับจากคอนเทนต์ เราก็มักจะนึกถึงยอดวิว หรือไลก์ คอมเมนต์ แชร์ตามสูตรฉบับโซเชียลมีเดีย แต่เอ็นเตอร์เทนเมนต์แพลตฟอร์มอย่าง TikTok ก็มีเกณฑ์วัด และ Key Metrics ที่น่าสนใจ และตามไปเช็กหลังบ้านเช่นกัน ซึ่งวันนี้ RAiNMaker สรุปมาให้อ่านแล้วในบทความนี้!
เพราะในยุคที่ครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และแบรนด์ต่างก็หันมาสร้างคอนเทนต์บน TikTok ตามกระแส และให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้คนมากขึ้น แถมเทรนด์คอนเทนต์ก็มาไว และไปไว อีกทั้งอัลกอริทึมที่จะแนะนำวิดีโอก็มีดี Demand สูงไปตาม ๆ กัน
ความสม่ำเสมอในการรักษา Performance ของคอนเทนต์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ยืนระยะบนแพลตฟอร์มนี้ได้ด้วย TikTok Metrics ที่จะช่วยให้รักษาสมดุลระหว่าง Performance ของช่อง และ Audience Engegement ได้ จากการติดตาม Account-level และ Video-level Analytics นั่นเอง
และแน่นอนว่าคอนเทนต์ที่เป็นไวรัลนั้นไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยบังเอิญเท่านั้น เพราะในฝั่งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ หรือแบรนด์ที่ไปเช็กอัลกอริทึม และ TikTok Metrics หลังบ้านจะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราชอบคอนเทนต์แบบไหนจากกระแสไวรัลนั้น โดยสามารถหา ‘Most Valuable TikTok Metrics’ ได้ ดังนี้
- Engagement Rate: วัด Video Metrics จากมุมมองของยอดวิวในการรับชม (Likes, Comments, Replies, Shares, Saves) เพราะเป็นหนึ่งในคีย์สำคัญในการเพิ่ม TikTok Engagement ที่มาพร้อมกับการเข้าถึง และมองเห็นได้ชัดเจนบนอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม
- Views: การวัดจากเวลาในการรับชมคอนเทนต์วิดีโอ ซึ่งจะเริ่มนับจากตอนที่วิดีโอเริ่มเล่น หรือมีการลูปเพื่อเล่นใหม่อัตโนมัติอีกครั้ง และหากวิดีโอไหนได้รับยอดวิวได้มากที่สุดก็จะเป็นหนึ่งใน Highlight Trending Topic บน TikTok ที่ม๊โอกาสไวรัลด้วยยอดการแข่งขันที่สูงขึ้นได้
- Followers Growth: การวัดจาก Account-level มาจากการเติบโตของจำนวนผู้ติดตาม และถึงแม้จะไม่ใช่ตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด แต่ก็ทำให้รู้ได้ว่าหากมียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้น (Audience Growth) ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีได้ว่าคอนเทนต์ภายในช่องนั้นมาถูกทางแล้ว
- Click-through Rate: การวัดด้วย TikTok Ad Metric แบบนี้จะสะท้อนให้เห็นได้ว่าผู้คนเข้ามามีส่วนร่วม และเอ็นเกจเมนต์กับคอนเทนต์หรือโฆษณา และแคมเปญมากแค่ไหนจากยอดวิวที่มียอด Impressions อยู่ การคลิกเข้ามาจึงเป็นส่วนร่วมอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อน Target Audience ได้ดี
- Shares: การวัดว่าผู้คนรีโพสต์คอนเทนต์ หรือมีการแชร์วิดีโอส่งการรับรู้ไปได้ไกลแค่ไหน รวมถึงการบุ๊กมาร์กคอนเทนต์ และการเกิดบทสนทนาใต้คอนเทนต์ก็สำคัญด้วย
- Audience Demographics: นี่เป็น TikTok Metric ที่ครอบคลุมไปจนถึงเรื่อง Demographics (ตามมาด้วยเรื่องของ Age, Location และ Gender) ในมุมมองของ viewership ที่ต้องสะท้อนคอนเทนต์ออกมาจากกลุ่ม Target Audience ของตัวเอง
- Trending Hashtags: เป็นการวัดจากจำนวน #แฮชแท็ก ที่ถูกใช้มากที่สุดบน TikTok ณ ขณะนั้น โดยจะมีการจัดอันดับผลลัพธ์ของแฮชแท็กพร้อมกับ ‘Post & View’ และกราฟวิเคราะห์ Trend ให้ด้วย หรือจะเข้าไปยังหน้า TikTok Creative Center เพื่อค้นหา Topics และ Trending ในแอปก็ได้เช่นกัน
How To ใช้งาน TikTok Metrics
- เข้าไปที่ ☰ บนเมนูหน้า TikTok Profile
- เลือก “Creator tools
- จากนั้นเลือกไปที่ “View all” เพื่อดู Account-level Analytics หรือหากจะดูรายละเอียดเพิ่มเติมก็เลือก “Overview” ได้
- ซึ่งในแท็บ Overview จะเห็น TikTok Key Metrics พร้อมเลือกระยะเวลาในการวิเคราะห์ได้ ไม่ว่าจะเป็นภายใน 7 วัน, 28 วัน, 60 วัน หรือจะเลือกช่วงเวลาเองก็ได้
TikTok Content Metrics
เกณฑ์ชี้วัดที่จะช่วยให้ทำความเข้าใจ Video-level ได้มากขึ้น ตั้งแต่ยอด Reach และ Performance โดยสามารถเข้าได้ ดังนี้
- เข้าไปที่ ☰ บนเมนูหน้า TikTok Profile
- เลือกแท็บ “View all”
- จากนั้นเลือกไปที่แท็บ “Content” ที่อยู่ด้านขวาของ “Overview”
- จะเห็นลิสต์วิดีโอ “Trending posts” ที่เป็นคอนเทนต์แบบ Fastest Growth คอนเทนต์ที่กำลังเป็นกระแสไวรัลภายใน 7 วัน
นอกจากนี้ “Video Analytics” ยังมีสรุปยอดเอ็นเกจเมนต์แต่ละคลิปเอาไว้ด้วย เช่น Likes, Comments, Shares และ Saves นั่นเอง
แต่ถ้าอยากดูการวิเคราะห์หลังบ้านให้ละเอียดกว่านี้ก็สามารถไปที่แท็บ “Overview” เพื่อดูการวิเคราะห์ Key Metrics อื่น ๆ แบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น
Overview Tab
- Total play time: การสะสมระยะเวลาในการรับชม หรือยอดวิววิดีโอทั้งหมด
- Average watch time: ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการรับชมวิดีโอ
- Watched full video %: เปอร์เซนต์ในการรับชมจนวิดีโอจบ
- New followers: จำนวนผู้ติดตามที่ติดตามหลังจาก Interact หรือรับชมวิดีโอ
- Video views: จำนวนยอดวิวที่วิดีโอทำได้ โดยวัดเป็นรายชั่วโมง ไปจนถึง 48 ชั่วโมง และ 7 วันขึ้นไปหลังจากวิดีโอถูกโพสต์ลงเป็นสาธารณะ
- Retention rate: เปอร์เซนต์การรับชมวิดีโอซ้ำในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
- Traffic sources: แหล่งที่กลุ่มเป้าหมายค้นพบวิดีโอคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น TikTok Search หรือ For You Page ก็ตาม
Viewers Tab
- Total viewers: จำนวนของ Unique View ที่มาจาก “Reached audience”
- Viewer types (ผู้ติดตามใหม่ vs ผู้ติดตามที่กลับมาอีก, ไม่ใช่ผู้ติดตาม vs. ผู้ติดตามเดิม): ส่วนที่ทำให้คัดแยกผู้ชมของคอนเทนต์ได้ว่าแต่ละประเภทมีการรับชมกี่เปอร์เซนต์ หรือคอนเทนต์ไหนดึงดูดผู้ติดตามใหม่ และทำให้กลับมารับชมอีกได้บ้าง
- Gender: ส่วนที่ทำให้รู้จักเพศสภาพของกลุ่มผู้ชม
- Age: ส่วนที่ทำให้รู้จักช่วงวัย และอายุของผู้ชม
- Location:ส่วนที่ทำให้รู้จักแหล่งที่อยู่ของผู้ชม
Engagement Tab
- Top words used in comments: การวัดจากคีย์เวิร์ด หรือประโยคที่อยู่ใน TikTok Comment มากที่สุด
- Likes: การวัดเปอร์เซนต์จากผู้คนที่ไลก์ โดยวัดในช่วงวินาทีจากคอนเทนต์
TikTok Follower Metrics
การวัดจากยอดการเติบโตของผู้ติดตามใน TikTok เพื่อดูประสิทธิภาพของช่อง และคอนเทนต์ได้ โดยมีระยะเวลาในการวิเคราะห์ตั้งแต่ 7 วัน, 28 วัน, 60 วัน หรือเลือกกำหนดได้เอง
- Total followers: จำนวนผู้ติดตามทั้งหมดในแอกเคานท์ตามแต่ละช่วงเวลา
- Net followers: การแสดงค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ติดตามใหม่ตามระยะเวลาที่ต้องการ พร้อมเปรียบเทียบกับระยะเวลาก่อนหน้าได้ว่ามีฐานผู้ติดตามเติบโตมาเท่าไหร่
- Follower insights: ส่วนที่ทำให้รู้จัก Demographic ของผู้ติดตาม
- Most active times: ส่วนที่ทำให้รู้จักช่วงเวลาที่ผู้ติดตามแอ็กทีฟที่สุด โดยคำนวณเป็นชั่วโมง และวัน
เทคนิคใช้ TikTok Metrics ดันช่อง TikTok
จากเกณฑ์การวัดของเครื่องมืนบน TikTok ทั้งหมด แน่นอนว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมาย และผู้ติดตามเพื่อประเมินประสิทธิภาพของคอนเทนต์ และแอกเคานท์ได้ แต่การจะเปลี่ยน Key Metrics ให้กลายเป็น Action ที่ชัดเจนขึ้น ก็นำไปใช้ได้เช่นกันนะ
- อย่ากลัวที่จะทดลอง
การทดลองลงคอนเทนต์ และครีเอทีฟคอนเทนต์ในหลาย ๆ รูปแบบนั้นเป็นเรื่องปกติในยุคนี้ ด้วยความที่ไวรัลนั้นมาเร็ว และไปเร็ว การทดลองทั้งความยาวของคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น Long-form หรือ Short-form
รวมถึงรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์จนหาแนวทางที่ชัดเจนของตัวเองเจอจึงสำคัญ และจะช่วยให้ยืนระยะได้ยาวบนแพลตฟอร์มแบบ TikTok
- ตามหาความถี่ของตัวเองในการโพสต์
หลายคนมักจะบอกว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอมาช่วย แต่ความสม่ำเสมอของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เพราะเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นแล้ว กลุ่มผู้ชมบน TikTok มีความกระหายคอนเทนต์ใหม่ ๆ มากกว่า
ซึ่งการค้นหาความสม่ำเสมอที่พอดี ต้องคำนวณกับจำนวนคลิปที่ลงต่อสัปดาห์ หรือยอดเฉลี่ยเอ็นเกจเมนต์ที่ได้รับแต่ะครั้งในการลงคลิปด้วย จึงจะเป็น Best Time To Post บน TikTok ได้ดีที่สุด เพราะความสม่ำเสมอบางครั้งก็ยืดหยุ่นได้เช่นกัน
- ตั้งเป้าหมาย TikTok Goalsให้ชัด
ด้วยความที่เป้าหมายของแต่ละแบรนด์ หรือครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ขึ้นอยู่กับบางอย่างที่แตกต่างกัน บางกลุ่มมีแอกเคานท์ TikTok เพื่อเข้ามาสร้างไวรัล บางกลุ่มมาเพื่อสร้าง Awareness ให้คนรู้จัก หรือบางกลุ่มมาเพื่อสร้างคอมมูนิตี้ใหม่ก็ตาม