กรณีศึกษาจาก Voice TV คอนเทนต์วิดีโอออนไลน์ ที่ก้าวข้ามจากการทำข่าวทีวีแบบเดิม ๆ

เมื่อพูดถึง Voice TV หลายคนก็อาจจะนึกถึงทหารไปปิด ม็อบไปบุก นักข่าวโดนอุ้ม หรือรางวัลโทรทัศน์จอดำ แต่หนึ่งในสิ่งที่เรียกได้ว่าน่าหยิบยกมาพูดคุยกันก็คือเรื่องการทำคอนเทนต์ออนไลน์แบบวิดีโอที่เป็นเอกลักษณ์และเริ่มมีความหลากหลายเป็นอย่างมากในช่วงหลัง ๆ นี้ ใครที่ติดตามข่าวสารวงการทีวีไทย ก็อาจจะจำได้ว่า Voice TV เป็นหนึ่งในช่องทีวี ที่ประกาศคืนใบอนุญาตกับทาง กสทช. และหันมาผลิตรายการทีวีบนช่องเคเบิล และทำออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ปิดตำนานรางวัลโทรทัศน์จอดำ (เพราะไม่ออกแล้ว)

วันนี้เราจะมาดูกรณีศึกษาที่น่าสนใจของการทำคอนเทนต์ออนไลน์ของ Voice TV ที่แต่ละคลิปยอดแชร์ไม่ต่ำกว่าหลักพัน และมีจำนวนการเข้าชมที่เยอะมาก ๆ มีรายการที่แปลกใหม่ และสามารถวิพากษ์ประเด็นทางสังคมได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ Voice TV ทำคอนเทนต์ออนไลน์ได้แปลกใหม่กว่าการนำคลิปข่าวทีวีมารีรันบนช่องทางออนไลน์เฉย ๆ

ต้องบอกว่าก่อนหน้านี้ การนำคลิปข่าวที่ออกอากาศบนช่อง TV มาลงบน Facebook เป็นวิธีการที่ใช้โดยหลาย ๆ สำนักข่าวพอสมควร หลังจากนั้นการทำวิดีโอที่เป็นเหมือนกับ Online Publisher คือมีการเล่าเรื่อง ตัดต่อ เป็นประเด็น ๆ ไป และใช้อัตราส่วนเป็น 1:1 เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม เท่าที่เรานึกออกก็จะที 2 ช่องที่ทำแบบนี้เป็นเจ้าแรก ๆ ได้แก่ Workpoint และ Voice TV

นอกจากการทำคลิปเล่าเรื่อง หรือ Highlight จากรายการทีวีปกติแล้ว Voice ยังมีการทำคอนเทนต์ เช่น การนำนักข่าว นักวิชาการ หรือพิธีกรรายการในเครือมาทำรายการย่อย ๆ ของช่องตัวเองและลงบนช่องทางออนไลน์ เช่น คำเมืองกับคำ ผกา, The Toppic, In Her Eyes, ขอเสียงหน่อย, Explainer และอีกหลาย ๆ รูปแบบรายการ

ซึ่งตัวอย่างคอนเทนต์ รายการคำเมืองกับคำ ผกา ก็เป็นการเอาคุณแขก ลักขณา ปันวิชัย มาพูดภาษาเหนือ สอนคำต่าง ๆ แต่เนื้อหาเป็นการวิพากษ์สังคม และชวนคิดในประเด็นต่าง ๆ รายการแต่ละตอนมียอดแชร์หลักพันขึ้นไป และยอดชมก็หลายแสน

วิธีการตัดต่อของ Voice TV บนคอนเทนต์ที่เป็นออนไลน์ จะใช้สไตล์การตัดที่สนุก ใช้ Effect ต่าง ๆ เล่นกับอารมณ์ของคนดู และมีความพยายามในการขยี้ประเด็นมี Agenda ที่ชัดเจน เช่น แซะรัฐบาล หรือวิพากษ์ปัญหาสังคม

นอกจากนี้รายการอื่น ๆ ยังมีการทำคอนเทนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ การจับนักวิชาการมานั่งพูดคุยถึงปัญหา การไปสัมภาษณ์ ซึ่งพวกนี้ เป็นสไตล์ของ Publisher แบบ Online ถ้าเราเห็นพวก The MATTER, The Standard ทำก็อาจจะไม่แปลกใจนัก แต่พอบอกว่า Voice TV มีพื้นฐานมาจากการเป็นช่องทีวีมาก่อน แล้วสามารถทำคอนเทนต์แนวนี้เข้าถึงกลุ่มคนบนโลกออนไลน์ได้ก็นับว่าน่าสนใจและควรเป็นกรณีศึกษาของช่องทีวีอื่น ๆ ไม่น้อย

สุดท้ายแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะบอกว่าการทำคอนเทนต์ ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบ แต่มองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเรา (ซึ่งอย่างทาง Voice TV เองก็มีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างชัด) แล้วทำออกมาอย่างต่อเนื่องลองผิดลองถูก ซึ่งเราเองก็เชื่อว่าทาง Voice ก็ลองผิดลองถูกมาเยอะเหมือนกัน กว่าจะจับทางได้แต่ละรายการ เป็นสิ่งที่พาสื่อดั้งเดิมให้มามีที่ยืนบนโลกของสื่อใหม่ได้

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save