รู้จักกับ Discoverable แนวคิดว่าคนจะหาคอนเทนต์เราเจอได้อย่างไร ในโลกออนไลน์ที่วุ่นวาย

เชื่อว่าตอนที่หลาย ๆ คนเริ่มทำคอนเทนต์ครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นทำเพจ ทำคลิป YouTube เขียน Blog หรืออะไรก็ตาม พอเราทำไปแล้วกด Publish กลายเป็นว่าไม่มีคนดูซะงั้น หรือมีแต่คนหลงเข้ามาดูแต่สุดท้ายก็ไม่ได้มากมาย ซึ่งสาเหตุนี้นี่เองทำให้หลายคนเลิกทำคอนเทนต์ไปแบบน่าเสียดาย ในเมื่อเราตั้งใจทำคอนเทนต์แล้วถ้าเรามั่นใจว่าคอนเทนต์เราดี มันต้องมีคนดูแน่ ๆ แต่อย่าลืมว่าเราอาจจะลืมสิ่งสำคัญอย่างปัจจัยที่จะทำให้คนดูมาเจอคอนเทนต์ของเรา จำไว้เลยว่าคนดูน้อยไม่ได้แปลว่าคอนเทนต์เราไม่ดี วันนี้เราจะมาลองทำความเข้าใจเรื่องของ Discoverable กัน

Platform ไม่เท่ากับ Discoverable

เราอาจจะสับสนเวลาถูกถามว่า แล้วคนเจอเจอคอนเทนต์ของเราได้ที่ไหน ? ก็บน Facebook ไง, บน YouTube ไง หรือบน Insragram ไง แต่อย่าลืมว่า Platform (Facebook, Twitter, IG, YouTube, Web, Google) คือสิ่งที่บอกว่าคนดูจะเจอกับเราได้ที่ไหน แต่ไม่ใช่คำตอบว่าคนดูจะเจอคอนเทนต์เราได้อย่างไร  เห็นแบบนี้หลายคนอาจจะพอนึกออกแล้วว่าถ้าคิดแค่ว่าจะทำคอนเทนต์บนเพจ แชแนล ต่าง ๆ แค่นั้นยังไม่พอ เราต้องคิดไปไกลว่านั้นว่าคนจะเจอคอนเทนต์ของเราได้อย่างไรด้วย

สำหรับวิธีการมอง Discoverable คือให้เราลองนึกสถานการ (scenario) ขึ้นมา โดยให้เรากำหนดกลุ่มเป้าหมาย (ซึ่งสำคัญมาก ห้ามทำคอนเทนต์โดยที่ไม่กำหนดเป้าหมาย) เช่น คนสนใจการทำคอนเทนต์ อยากเป็น Blogger พอคิดได้แบบนี้แล้วก็ให้ลองคิดต่อไปอีกว่าคนพวกนี้อยู่ที่ไหน ถ้าอยู่ใน Facebook Friend ของเราก็ง่ายเลย เราอาจจะใช้วิธีการแชร์ลง Facebook ของตัวเองให้คนที่เป็นเพื่อนบน Facebook เราเห็น (พอรู้แบบนี้แล้วเราจะออกแบบกระบวนการทั้งหมดได้) Scenario ที่จะเกิดขึ้นก็คือ นาย A เป็นเพื่อนกับเราบน Facebook นาย A อยากเป็น Youtuber นาย A ไถ Feed Facebook อยู่ เห็นโพสต์ที่เราแชร์มา นาย A กดอ่าน นาย A สนใจมาก เข้าไปอ่านบทความอื่นต่อและแชร์ต่อ นี่คือคิดแบบเป็น Scenario ซึ่ง Scenario ในการค้นพบคอนเทนต์นั้นอาจจะต่างกันไป

หลายคนอาจจะนึกตรงส่วนนี้ไม่ออกเพราะเราไม่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายของเราตั้งแต่แรก ทำให้เราลืมคิดไปว่าเราจะไปเจอคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราได้ที่ไหน

หรือบางครั้ง Discoverable ก็มาจากเหตุผลอื่น ซึ่งเราต้องเข้าใจธรรมชาติของ Platform

จริงอยู่ที่ว่าตัว Platform นั้นไม่เท่ากับ Discoverable แต่อย่าลืมว่า ธรรมชาติของ Platform แต่ละตัว มีส่วนสำคัญในการเกิด Discoverable ที่แตกต่างกัน เช่น YouTube มีระบบ suggestion video แต่ไม่มีการ share ใน platform ตัวเอง Instagram ไม่มีการแชร์แต่มี suggestion หรือ Facebook มีทั้ง suggestion, share หรือ Twitter มีการ retweet และมีความเป็น realtime มากกว่า platform อื่น ดังนั้นสมมติว่าเรา Tweet อะไรที่เป็นที่พูดถึงของสังคมในตอนนั้นแล้วมีคนเห็นด้วย (หรือไม่เห็นด้วย แต่ re ไปประจาน) โอกาสที่คนจำนวนมากจะได้เห็นคอนเทนต์ของเราก็สูงตาม

แต่ละ Platform จะทำให้ Scenario ของกลุ่มเป้าหมายที่เขาจะเจอคอนเทนต์ของเราแตกต่างกันไป บางอย่างเราก็ควบคุมได้ บางอย่างก็ควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้เราก็ต้องพยายามควบคุมให้ดีที่สุด เช่น เราเป็นสื่อ, บล็อกเกอร์ ที่ทำคอนเทนต์เรื่องเครื่องบิน เวลามีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับการบินที่สื่อหลักให้ความสนใจ เราก็ทำคอนเทนต์มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ความรู้ โอกาสที่คนจะพบเจอเราก็มากขึ้น ตัวอย่างของวิธีการสร้าง Discoverable ที่ผู้เขียนใช้บ่อยก็เช่นการได้ซีน ซึ่งเขียนไว้ในบทความ ได้ซีนแบบละครไทย เทคนิคทำคอนเทนต์ที่บอกว่าเราคือใคร

คำแนะนำก็คือ พยายามทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง ทำความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และทำความเข้าใจตัว Platform จากนั้นลองสร้างภาพ Scenario ขึ้นมาว่าคอนเทนต์ของเรามี Discoverable เป็นอย่างไรบ้าง แล้วเราต้องทำอย่างไรเพื่อผลักคอนเทนต์ของเราให้ไปจุดนั้น นี่เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ปัญหาคอนเทนต์ดีไม่มีคนดูลดลงก็ได้

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save