ทำคลิปลง Facebook, YouTube, IG สอนตัดคลิปให้เหมาะกับ Platform

ทุกวันนี้วิดีโอกลางเป็นรูปแบบของคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อ Platform ต่าง ๆ ต่างผลักดันวิดีโอในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง YouTube เจ้าพ่อ Platform วิดีโอดั้งเดิม มาจนถึงยุคของ Facebook, Twitter และล่าสุดก็คือ Instagram

และด้วยความนิยมของวิดีโอทุกวันนี้ทำให้หลายคนหันมาทำวิดีโอกันมากขึ้น บางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนทำแล้วก็บอกว่า ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย ไม่มีคนดู แต่เอาเข้าจริง ๆ แม้ว่าความสำเร็จของการทำวิดีโอนั้นอาจจะไม่ได้วัดกันแค่มีหรือไม่มีคนดูเพียงอย่างเดียว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราก็ยังต้องมีวัตถุประสงค์บางอย่างในการทำวิดีโอ เช่น เป็นพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้ามารู้จักกับเรา หรือทำให้เกิดการพูดถึงบนโลกอินเทอร์เน็ต

นอกจากเนื้อหาที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น อย่าลืมว่า Platform ที่แตกต่างกัน ก็มีส่วนทำให้การเข้ามา Engage กับวิดีโอของเราแตกต่างกันด้วย ดังนั้นการทำวิดีโอให้ประสบความสำเร็จ อาจจะไม่ใช่การทำวิดีโอขึ้นมาตัวนึงตามใจเราแล้วเอาไปลงใน Platform ต่าง ๆ เหมือนกัน

ทำไม่ควรเอาวิดีโอเดียวกันโพสต์ลงหลาย Platform

ย้อนกลับไปถึงประวัติของวิดีโอบนโลกอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่เริ่มต้นให้วิดีโอเข้ามามีบทบาทอย่างมากก็คงหนีไม่พ้น YouTube ที่ถูกซื้อไปโดย Google ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดคอนเทนต์ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ในขณะที่เวลาผ่านไป Facebook ก็มีแผนที่จะเป็น platform วิดีโอ ตอนนั้นหลายคนไม่เชื่อว่า Facebook จะสามารถมาแทน YouTube ได้ แต่ความจริงแล้ว แผนของ Facebook ไม่ใช่การมาแทน YouTube แต่คือการเป็น Platform สำหรับวิดีโอแบบใหม่ที่ YouTube เป็นไม่ได้ต่างหาก สิ่งนั้นทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า Soical Video ซึ่งปัจจุบันเป็นรูปแบบที่เราพบเห็นกันได้ทั่วไป

อธิบายธรรมชาติของ Social Video ง่าย ๆ ก็คือ เป็นวิดีโอที่ปรากฏบน News Feed เนื่องจาก YouTube นั้น โอกาสในการค้นพบวิดีโอจะเป็นในลักษณะของการแนะนำ และการ Search หา หรือ Subscribe ไว้แล้วเห็น แต่สำหรับ Facebook นั้นวิดีโอเล่นผ่าน Feed ที่เราไถกันอยู่ทุกวัน และเมื่อรวมกับการที่มันสามารถเล่นเองได้อัตโนมัติ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่ากฎ 3 วินาทีขึ้น คือ วิดีโอของเราต้องทำให้คนหยุดดู และดูต่อได้ ไม่ใช่แค่เลื่อนไถผ่านไป

จะเห็นว่าธรรมชาติของวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต มีลักษณะทั้งเป็นแบบ Active และ Passive นั่นทำให้คนทำวิดีโอย่างเราต้องเลือกทำวิดีโอในรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละ Social คนที่เก่ง YouTube อาจจะไม่ได้เก่ง Facebook หรือคนเก่ง Facebook ก็ไม่ใช่ว่าก็อปคลิปไปลง YouTube แล้วจะสร้างฐานผู้ชมได้เหมือนกับ YouTuber

รูปแบบวิดีโอที่เหมาะกับแต่ละช่องทาง

คำถามต่อมาก็คือ แล้วธรรมชาติของแต่ละ Platform ทำให้เราต้องทำวิดีโอให้เป็นรูปแบบไหน แต่จะบอกว่า Platform กำหนดรูปแบบของวิดีโอก็ไม่ถูกเพราะตัว Platform เองก็ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องทำแบบไหน เรียกว่าทำวิดีโอให้สามารถใช้ธรรมชาติของ Platform ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดน่าจะดีกว่า

YouTube

Platform วิดีโอที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิดีโอบนโลกอินเทอร์เน็ตนี้ แม้ว่าจะเหมือนเดิมแต่ก็ยังปรับให้มีความทันสมัยขึ้นหลายครั้งรวมถึงมีความพยายามเป็น Social Network มากขึ้น จากเดิมที่คนทำวิดีโอต้องไปใช้งาน Platform อื่น ๆ เช่น Facebook หรือ Twitter เพื่อพูดคุยกับแฟน ๆ หรือผู้ติดตาม ณ ตอนนี้ YouTube เองพยายามสร้าง Tools ต่าง ๆ ให้การคุยกันง่ายขึ้น แต่ธรรมชาตของวิดีโอบน YouTube ก็ยังไม่แตกต่างจากเดิมมาก ประเด็นสำคัญที่เราควรรู้จักหากจะทำวิดีโอบน YouTube ก็เช่น

  • ชื่อของคลิป และรูปภาพประกอบ มีความสำคัญอันดับต้น ๆ และต้องบอกให้ได้ว่าในคลิปเรานั้นคืออะไร มีอะไร ส่วนมากที่เราจะเห็นกันคือเป็นภาพจากคลิป และมีตัวหนังสือปรากฎบนคลิปเพื่อให้เตะตามากขึ้น
  • การตัดคลิปนั้น เนื่องจาก YouTube เป็น Platform ที่การปรากฏของวิดีโอนั้นเกิดจากความต้องการของ User เอง ที่จะเข้าไปดู และรูปแบบของคอนเทนต์ทั้งเว็บนั้น ก็มีแต่วิดีโอ ทำให้โอกาสที่คนจะไม่สนใจน้อยกว่า Social Media อย่าง Facebook ที่มีคอนเทนต์อื่น ๆ รวมเต็มไปหมด
  • สามารถตัดแบบยาวเป็นหนังได้ และอัตราส่วนของวิดีโอที่เป็นแนวนอนไม่ได้เป็นอุปสรรคมากนัก เพราะคนเข้าใจอยู่แล้วว่าเข้า. YouTube มาเพื่อดูวิดีโอ หรือดูบนคอมพิวเตอร์ ดูบน TV

Facebook และวิดีโอโซเชียล

Social Media ที่กลายมาเป็นเจ้าของหนึ่งใน Platform วิดีโอที่ใหญ่ที่สุด หลังจากที่ Facebook เปิดตัวฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่นวิดีโอเล่นอัตโนมัติ และเชิญชวน Publisher มาทำคอนเทนต์เป็นวิดีโอบน Facebook เกิดเป็นวิดีโอโซเชียลต่าง ๆ ขึ้นมา

ธรรมชาติของ Platform บน Facebook นั้นน่าสนใจเนื่องจากอย่างที่บอกไปว่ามีความแตกต่างจาก YouTube มาก แทบจะเป็นสิ่งใหม่ ทำให้สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงวิดีโอบน Facebook จะเป็นประเด็นแนว ๆ

  • 3 วินาทีแรกของวิดีโอบน Facebook ต้องดึงดูดคนให้รู้ว่าคืออะไร เห็นแล้วอยากดูต่อ ถ้าเป็นวิดีโอยาว อาจจะหาตัดช่วงที่หน้าสนใจที่สุดมาเริ่มต้น ให้คนเห็นภาพรวม ๆ ก่อน แล้วค่อยเป็นวิดีโอ
  • เนื่องจากวิดีโอแบบ autoplay จะไม่มีเสียง ทำให้เราอาจจะต้องใส่ subtitle เพื่อให้คนรู้ว่าเรากำลังพูดอะไร มีกรณีว่าคนดูคลิปของเราจบโดยที่ไม่กดเข้าไปให้มีเสียงด้วยซ้ำ
  • อัตราส่วนของวิดีโอที่นิยม ถ้าไม่เป็น 1:1 ก็จะเป็นแนวตั้งไปเลย เนื่องจากใช้พื้นที่บนหน้าจอได้อย่างเต็มที่ และทำให้ user ไม่ต้องเอียงจอเพื่อให้ดูคอนเทนต์ได้

ในขณะที่ Instagram ซึ่งเป็น platform ที่ค่อนข้างใหม่นั้น รูปแบบการทำวิดีโอก็จะคล้าย ๆ กับ Facebook เนื่องจากเป็น autoplay และแสดงบนหน้า Feed เหมือนกัน

ปัจจัยอื่น ๆ ที่น่าคำนึงถึงก็เช่น

  • ความยาวของวิดีโอ หรือคิด scenario ที่ผู้ใช้จะรับชมคอนเทนต์ของเรา เช่น ดูบนรถไฟฟ้า ดูที่บ้าน ดูก่อนนอน
  • รูปแบบของคอนเทนต์ ข่าว บทสัมภาษณ์ หนังสั้น

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เราพยายามจะบอกคือแต่ละ platform นั้นก็ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องทำยังไง ตัดคอนเทนต์แบบไหน แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของแต่ละ Platform โอกาสในการ Discover คอนเทนต์ของเราของผู้ชม ก็จะช่วยให้เราสามารถดึงประโยชน์ของแต่ละ Platform มาใช้ได้ และอย่าลืมว่า YouTube ก็คือ YouTube, Facebook ก็คือ Facebook ไม่สามารถคิดแทนหรือทดแทนกันได้ เราอาจจะก็อปคลิปจาก Facebook ไปลง YouTube ได้ แต่เราจะไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดียวกันแล้วบริหารทั้ง 2 โซเชียลให้ไปถึงขีดสุดของมันได้

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save