6 ข้อเสียหรือข้อสังเกตของ Podcast สิ่งที่เราอาจจะไม่คาดคิดแต่ต้องระวัง

Podcast กำลังจะมา คำพูดนี้เป็น Buzzword ที่บรรดากลุ่มคนทำคอนเทนต์รวมถึงคนบนโลกออนไลน์พูดถึงกันอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จริง ๆ แล้วก็ไม่แปลกนัก เพราะตอนนี้ Podcast ในไทยกำลังเติบโตอย่างมาก รวมถึงสื่ออนไลน์ออฟไลน์ หรือเจ้าเก่าเจ้าเดิมในวงการสื่อก็ยังต้องหันมาทำ Podcast ด้วยสไตล์ที่เข้าถึงข่าย และเหมาะกับชีวิตของเราในยุควุ่นวายปัจจุบัน

แต่สิ่งที่เราอยากจะนำมาแชร์กันในวันนี้ เป็นมุมมองกับ Podcast ที่อาจจะต่างออกไป อนึ่งคือเราไม่ได้อยากที่จะอวยการทำ Podcast อย่างเดียว แล้วบอกว่าทุกคนต้องไปทำ Podcast ให้หมด ไม่ได้แล้ว ไม่ทำแล้วเช้ยเชย ซึ่งมุมมองและข้อสังเกตเหล่านี้ก็ได้แก่

1. หรือจริง ๆ Podcast มันก็ไม่ได้อะไรขนาดนั้น

จริง ๆ แล้ว Podcast ก็คือรูปแบบคอนเทนต์รูปแบบหนึ่ง ที่จริง ๆ แล้ว มันก็อาจจะไม่ได้อะไรขนาดนั้น เหมือนกับ Platform อื่น ๆ ที่ไม่มี Platform ไหนเป็น Utopia หรือว่า Mother of Content ณ ตอนนี้ Podcast อาจจะมีอัตราการเติบโตที่สูง แต่เราก็ไม่สามารถเดาได้ว่าในอนาคตจะมีอะไรที่เข้ามา Disrupt Podcast แม้อาจจะยังไม่ใช่ในเร็ววัน แต่การที่เราไม่มองลักษณะของคอนเทนต์รูปแบบใบรูปแบบหนึ่งเกินกว่าสิ่งที่มันเป็นว่ามันก็ก็คือคอนเทนต์ที่ใช้เสียง และแบ่งเป็นรายการหรือตอน ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราอาจจะต้องคำนึงไว้

2. Podcast ทำให้เราพูดสิ่งที่ไม่ได้คิดง่ายกว่าปกติ ต้องระวัง

เนื่องจาก Podcast นั้นเป็นลักษณะของการพูด ซึ่งการพูดอาจจะทำให้เราคิดได้น้อยกว่าปกติ และนึกภาพเวลาเราอัด เรามีสองสิ่งที่จะต้อง Concern อย่างแรกคือ เนื่องจาก เราอาจจะไม่อยากให้ต้องตัดเยอะ จึงพยายามพูดให้ลื่นที่สุด อย่างที่สองก็คือเนื้อหาที่ถูกต้อง หรือการพูดสิ่งที่ไม่ควรจะพูดหรือลืมนึกถึงผลของการพูดออกไป สองอย่างนี้ เป็นการเลือกที่เรา (อย่างน้อยก็ผู้เขียน) อาจจะไม่สามารถเลือกทำให้ได้ดีทั้งสองอย่างได้โดยที่ไม่ต้องห่วงอีกอย่างนึง ทำให้เราอาจจะเผลอพูดสิ่งที่อาจจะผิด หรือลืมคิดได้ง่ายกว่าปกติ เป็นหนึ่งในข้อแรก ๆ ที่ต้องระวังหากทำ Podcast ไม่เช่นนั้นอาจจะนำมาสู่ดราม่าได้

3. จริง ๆ แล้วเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่แชร์ยากเมื่อเทียบกับแบบอื่น

จริง ๆ แล้ว Podcast กับวิดีโอบน YouTube หรือ Netflix นั้นมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายกันก็คือ เวลาที่คนจะดู เกิดจากการตั้งใจกดเข้าไปดู และในบางครั้งเราก็ไม่ได้แชร์ให้ชาวบ้านได้รู้ (ไม่เชื่อลองนึกดูว่า เราแชร์คลิป YouTube มาที่ Facebook ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ หรือเราพูดถึงหนังบน Netflix ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะบน Feed) แต่จริง ๆ คอนเทนต์พวกนี้จะเข้าไปอยู่ในบทสนทนาหรือ Conversation แทนการแชร์แบบไร้จุดหมายแทน

จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้เป็นอะไรที่แย่มากนัก แต่เราไม่สามารถใช้ Approch เดียวกับการทำคลิปบน Facebook หรือการทำ Facebook Page ได้ เนื่องจาก คนไม่ได้ผ่านเข้ามาแบบบังเอิญหรือเห็นโดยบังเอิญแล้วแชร์มากเท่ากับคอนเทนต์เหล่านั้น

4. จากข้อสาม ทำให้ Discoverability ก็ยากด้วยเช่นกัน

และจากข้อด้านบน ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่อง Discoverability หรือในภาษาไทยก็คือ ความสามารถในการเจอ ซึ่งหมายความว่า เวลาที่คนเข้ามาฟัง Podcast จะมีกรณีที่ไม่เยอะมาก เท่ากับบน Social Media อย่าง Facebook หรือ TikTok หรือ Twitter เพราะจริง Podcast เป็นอะไรที่เน้นจาก Interest หรือความสนใจเป็นหลัก ซึ่งเราเองก็ต้องแบบ Journey ของ Discoverability ในตัวคอนเทนต์เราสมควร เช่น ทำยังไงให้คนที่ชมคอนเทนต์อื่น ๆ ของเรา (ในกรณีที่เป็น Publisher, YouTuber ทำเพจทำเว็บอยู่แล้ว) convert มาฟัง Podcast หรือเราจะทำยังไงให้คนที่ฟัง Podcast รายการใกล้เคียง มาฟังรายการของเรา

ซึ่งจริง ๆ ตรงนี้แอบยากอยู่ เพราะเป็นเรื่องของ Social Enginnering มากกว่าการทำความเข้าใจอัลกอริทึมของตัว Platform ในขณะที่อัลกอริทึมสามารคาดเดาได้ มีแบบแผนชัดเจน แต่จิตวิทยาของคนและ Perception นั้นยากแท้หยั่งถึง

5. ทำให้ง่ายจะยาก ทำให้ยากจะง่าย

มีคำพูดที่ว่า Simple Is Hard หรือการทำสิ่งที่ง่ายมันยาก จริง ๆ Podcast เป็นแนวคอนเทนต์ที่ดูเหมือนจะง่ายมาก กดเข้ามาฟังเสียงอย่างเดียว แต่การออกแบบประสบการณ์หรือ Experience นั้น ยาก และต้องผ่านการคิดวิเคราะห์เยอะมาก ซึ่งอย่างที่บอกในข้อด้านบน มันคือ Social Enginnering อย่างหนึ่ง เผลอ ๆ ยิ่งเราทำง่าย ๆ พูด ๆ ๆ ๆ ตัด อัพขึ้น คิดว่าจบแค่นี้ แต่เราอาจจะไม่มีคนฟังเลยก็ได้

6. Podcast ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ทั้งในฝั่งคนทำ และคนฟัง

ก็เหมือนกับ Platform อื่น ๆ Podcast ไม่ใช่รูปแบบของคอนเทนต์ที่เหมาะกับทุกคน และ Podcast ของเราเองก็อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับคนที่ฟัง Podcast อย่างที่บอกว่า ในรูปแบบคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตาม Discoverability คือสิ่งที่สำคัญมาก ๆ

รวมถึงคนทำเองก็ตาม Podcast อาจจะเหมือนรายการแค่การพูดธรรมดา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนไม่ใช่นักพูดที่ดี ทั้งในฝั่งของเนื้อหาและการใช้เสียง ถ้าจะทำคอนเทนต์ให้ดีก็ต้องอาศัยการฝึกและและอาศัย Learning Curve พอตัว

ลองดูบทความที่ถ้าอ่านแล้วจะเข้าใจสิ่งที่พูดถึงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า Podcast คือรูปแบบของคอนเทนต์ที่น่าจับตามองมากที่สุดในยุคนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีคอนเทนต์แบบไหนที่ล้ำเลิศน่าเทิดทูน แต่เราต้องคำนึงถึง Audience หรือกลุ่มเป้าหมายที่สมบูรณ์อยู่เรื่อยไปและมีอยู่แล้วแน่ ๆ เพื่อทำคอนเทนต์ออกมาเพื่อตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมาย และตรงกับวัตถุประสงค์ของเรามากที่สุด

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save