เหตุผลที่เราควรตั้งชื่อบทความลง Social และ Google ไม่เหมือนกัน + วิธีทำ

สมมติว่าเราเขียนบทความขึ้นมา 1 บทความ ในบทความเรื่อง รู้จักกับ Discoverable แนวคิดว่าคนจะหาคอนเทนต์เราเจอได้อย่างไร ในโลกออนไลน์ที่วุ่นวาย เรารู้กันไว้แล้วว่าเราจะต้องคิดเผื่อคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราว่าพอเรากด Publish คอนเทนต์นั้น ๆ ออกไป จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น คนจะเข้ามาเจอได้อย่างไร จากทางไหนบ้าง ด้วยพฤติกรรมอย่างไร พอคิดง่าย ๆ แล้ว เราก็อาจจะแบ่งได้ก่อนเป็น 3 กลุ่ม ก็คือ กดเข้ามาดูที่ช่องทางเราโดยตรง, เจอผ่าน Search Engine และ ไถ Feed อยู่แล้วเจอ

และในแต่ละรูปแบบก็จะมาจากพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปอีก เช่น

  • นาย A อ่าน Facebook ไปเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นเจอบทความแนะนำร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิตย์หน้านาย A จะไปเชียงใหม่ นาย A จึงกดเข้าไปดู
  • นาย B กำลังจะไปเชียงใหม่พรุ่งนี้ กำลังหาร้านอาหารไว้กินกับเพื่อน เลย Search ใน Google ว่า ร้านอาหารเชียงใหม่
  • นาย C เป็นนักชิมตัวยง หาร้านข้าวซอยที่อร่อยที่สุดในไทยเพื่อไปลองซักครั้งก่อนตาย จึง Search Google หาร้านข้าวซอยที่อร่อยที่สุดในประเทศไทย

ความเป็นไปได้ที่มนุษย์ 3 คนนี้จะมาเจอบทความเดียวกันบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปได้ แม้ว่าจะมีพฤติกรรมที่ต่างกันก็ตาม ในมุมของคนทำคอนเทนต์นั้น จริง ๆ แล้ว 3 คนนี้เป็น Audiene ของเราหมดเลยด้วย ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้ทั้ง 3 คน เจอคอนเทนต์ของเรา

ดูพฤติกรรมของคนกันแล้ว ต่อไปมาดูธรรมชาติของแต่ละ Content บ้าง ทั้งบน Social Media และบน Google

  • บน Social Media คู่แข่งของเราคือบทความอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรา เช่น นาย A อาจจะถูกดึงความสนใจด้วยฝง CGM48 ที่เพิ่งเปิดตัวและเกี่ยวกับเชียงใหม่เหมือนกัน หรือเจอบทความว่าเชียงรายหนาวกว่า รวมทั้งคู่แข่งของเราก็อาจจะเป็นเวลาที่นาย A จะอยู่บนหน้าจอ และความบังเอิญว่าบทความเราจะไปปรากฎบน Feed ของนาย A ช่วงไหน ตอนกำลังจะลงรถเมล์แล้วก็ไถลืมไปกลับมาหาไม่เจอหรือเปล่า
  • บน Google คู่แข่งของเราก็คือบทความอื่น ๆ ที่ปรากฎจาก keyword ที่คนคนนั้น Search เช่น นาย C อาจจะเจอบทความอื่น ที่ขึ้นมาก่อนบทความของเรา หรือเจอบทความ ที่เขียนว่าร้านข้าวซอยที่อร่อยที่สุด (ร้านเดียว) แต่เราเขียนว่ารวมร้านข่าวซอย (10 ร้าน) นาย C อาจจะเห็นว่าบทความร้านเดียวแต่ตรงกับที่ต้องการนั้นน่ากดมากกว่า

จะเห็นว่าที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นในเชิงพฤติกรรมหมดเลย ดังนั้น ชื่อของบทความสำคัญมาก ไม่ว่าจะบน Social Media หรือบนผลการค้นหา Google ก็ตาม

แล้วเราจะตั้งชื่อบทความบนแต่ละ Platform อย่างไรดี

มองตามพฤติกรรมของผู้ใช้และบทความคู่แข่งของเราบน Platform นั้น ๆ ทำให้เราสามารถแนะนำข้อควรทำได้ดังนี้

  • บน Social ให้ตั้งชื่อบทความให้เน้นเป็นภาษามนุษย์ เป็นเรื่องราว บอกว่า ทำไมควรเข้ามาอ่าน เช่น “ทำไมคุณควรมากินร้านข้าวซอยที่นี่หากมาเชียงใหม่” หรือ “10 ร้านอาหารเชียงใหม่ที่ควรมากินกับเพื่อน”
  • บน Google ให้ตั้งชื่อบทความที่ใกล้เคียงกับที่คน Search อยากรู้ที่สุด และเลือกใช้ keyword สำคัญที่สุดนำ เช่น ข้าวซอย เชียงใหม่ ร้านอาหาร ตัวอย่างชื่อก็เช่น “10 ร้านข้าวซอยในเชียงใหม่ ควรกินก่อนตาย ราคา การเดินทาง”, “15 ร้านอาหารเชียงใหม่ นิมมาน 2019 เปิดดึก ราคา” จะสังเกตว่าเราใส่คำไปเป็นประเด็น ๆ เช่น ราคา เพราะถ้าคนอยากรู้ราคาเขาก็รู้ว่าในบทความของเรามีราคา

อีกอย่างนึงก็คือ ให้เราใช้ Google นั่นแหละ ดูว่า คน Search ด้วยคำว่าอะไรบ้าง พอดูจากด้านล่าง ถ้าสมมติเรารีวิวร้านอาหารในเชียงใหม่ก็อย่าลืมใส่ว่า  2019 เข้าไปด้วย (ก็เห็น ๆ อยู่ว่าคนเอา 2019 มาเป็นประเด็นในการค้นหา)

วิธีตั้งชื่อให้ต่างกันหากใช้ WordPress

ปกติแล้ว บน WordPress จะมี Plug-in ที่ชื่อว่า Yoast SEO ที่สามารถให้เราตั้งชื่อบทความต่างกันบนแต่ละ Platform ได้ วิธีการก็คือให้ติดตั้งแล้วเวลาเขียนบทความ เลื่อนลงมาดูที่เมนู SEO กับ Social ด้านล่าง เราจะสามารถตั้งชื่อ Title ของบทความได้แตกต่างกัน

ซึ่งสำหรับในกรณีของ Facebook นั้นเรายังสามารถเลือกอัพโหลดรูปตัวอย่างที่ไม่เหมือนกับภาพ Feature Image ได้อีกด้วย ถามว่าทำไม ให้ลองอ่านบทความ  สไตล์ภาพปกบทความช่วยสร้างเอกลักษณ์ ให้กับเว็บได้อย่างไร เทคนิคการเลือกรูป

สุดท้ายแล้วก็อย่าลืมว่า การทำคอนเทนต์ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ Publish แล้วจบ แต่เราต้องเข้าใจว่าคอนเทนต์ของเราจะถูกหาเจอได้อย่างไรและทำคอนเทนต์อย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายของเราหาเจอได้ง่ายที่สุด

ยิ่งเราเข้าใจพฤติกรรมของคน และธรรมชาติของ Platform ได้มากเท่าไหร่เรายิ่งได้เปรียบในสนามรบบนโลกออนไลน์ได้มากเท่านั้น

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save