นอกจากบน Facebook แล้ว YouTube ก็เป็นอีกหนึ่ง Platform ที่ก็เจอปัญหาเรื่อง Fake News หรือ Manipulated Content ที่หวังผลหรืออาจจะแค่เพื่อสร้างยอดไลค์หรือ Views แต่เนื้อหาไม่เป็นประโยชน์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อนหน้านี้ YouTube เพิ่งเริ่มทดสอบปรับอัลกอริทึมลดการแสดงผลคอนเทนต์ที่เป็น Clickbait หรือ Controversy ทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ให้แสดงในช่อง Suggestion น้อยลง แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ YouTube ก็เริ่มต้นแก้ปัญหาอย่างตรงจุดแล้วด้วยการทดสอบระบบ Fact Checking สำหรับคอนเทนต์บน YouTube
เหมือนกับ Facebook และ Social Media อื่น ๆ ระบบ Fact Checking ยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอัลกอริทึมและองค์กร 3rd Party ซึ่งก็เนื่องมาจาก ณ ตอนนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกากำลังมีข่าวปลอมเรื่องวัคซีนระบาดอยู่ ทำให้ทั้ง Facebook และ YouTube ต่างต้องออกมาทำอะไรซักอย่าง ซึ่ง Facebook นั้นมีระบบ Fact Checking อยู่แล้ว แต่ YouTube นั้น BuzzFeed รายงานว่า เป็นครั้งแรกที่มีการแสดง Fact Checking บนหน้าของ Platform
YouTube นั้นขึ้นชื่อเรื่อง Video Platform ที่เป็น User-Generated Content หรือผู้ใช้งานสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเอง และทำงานด้วยระบบการ Search keyword และ Suggestion ทำให้ถ้าอัลกอริทึมไม่รัดกุมจะทำให้คอนเทนต์หวังผลประโยชน์หรือ Fake News ต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทได้ง่าย นอกจากเรื่องประเด็นวัคซีนแล้ว ยังมีข่าวการก่อการร้ายใน Pulwama ที่มีการปล่อยภาพที่อ้างว่าเป็นภาพจาก CCTV มาบน YouTube ซึ่งทาง YouTube ก็ออกมาขึ้นเตือนว่าไม่ใช่คลิปจริง
สุดท้ายก็ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าจับตามอง เพราะด้วยความเป็นคอนเทนต์วิดีโอแล้ว คนอาจจะรู้สึกว่าแค่หัวข้อกับเอาวิดีโออะไรก็ไม่รู้มาใส่ (เรียกข่าวปลอมแบบนี้ว่า False Context อ่านประเภทของข่าวปลอมได้ใน รู้จักกับ Fake News ทั้ง 7 รูปแบบ ที่เราเจอกันทุกวันบน Facebook, Twitter) ก็เป็นข่าวจริงที่น่าเชื่อถือได้