SocialYoutube

Avatar

doyoumind February 17, 2022

YouTube Community Guideline Policies รู้ก่อนอัปโหลด ถ้าไม่อยากให้โพสต์ปลิว

หลายคนเคยมีความสงสัยเกี่ยวกับการโพสต์เนื้อหาบน YouTube อย่างเรื่องของขอบเขตเนื้อหา หรือผลกระทบจากการทำผิดกฎ เป็นต้น

YouTube จึงแชร์ Community Guideline Policies ที่เป็นกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด และนโยบายต่าง ๆ ที่ YouTube กำหนดขึ้นมาเพื่อให้แพลตฟอร์มมีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับผู้ใช้ทุกคนมากที่สุด

ทั้งนี้ก็เพื่อหวังให้ความรู้ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะกับคนที่อยู่ในแวดวงสื่อ ในการนำเสนอข่าวสาร และคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้ดำเนินอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้บนแพลตฟอร์มนั่นเอง

Strike System

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักระบบ Strike กันก่อนดีกว่า ในการทำผิด ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดกฎของแพลตฟอร์มด้วยวิธีใดก็ตาม YouTube จะนับเป็น ความผิด 1 ครั้ง = 1 Strike โดยสามารถทำผิดได้สูงสุดแค่ 3 Strike เท่านั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทลงโทษ ดังนี้

First Violation

การละเมิดกฎครั้งแรก YouTube จะยังไม่ให้ช่องติด Strike แต่จะส่งคำเตือนมาก่อน ซึ่งคำเตือนนี้จะติดอยู่กับช่องตลอดไป สามารถเห็นได้เมื่อเข้าไปดูที่ระบบหลังบ้าน

First Strike

เมื่อละเมิดกฎหลังจากได้รับคำเตือนแล้ว จะได้รับ First Strike ทำให้ไม่สามารถอัปโหลดวิดีโอได้ 1 สัปดาห์ รวมถึงไม่สามารถไลฟ์สตรีมได้ สำหรับ Strike แรกจะมีระยะเวลา 90 วัน

Second Strike

หากมีการละเมิดกฎภายใน 90 วันที่ได้รับ Strike ครั้งแรก ก็จะได้รับ Strike ที่สองมา ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่าง ๆ บนช่องได้เป็นเวลา 2 สัปดาห์

Third Strike

Strike สุดท้าย หากละเมิดกฎภายใน 90 วัน YouTube จะทำการระงับช่องทันที และไม่สามารถเปิดช่องใหม่ได้

นอกจากนี้ หากการละเมิดกฎครั้งแรก ถูกพิจารณาแล้วว่าเป็นการกระทำผิดที่รุนแรง ระบบของ YouTube ก็อาจตัดสินใจระงับช่องได้ทันทีเช่นกัน

Community Guideline Policies

คราวนี้มาดูเรื่องของข้อกำหนดและนโยบายของแพลตฟอร์มกัน ว่ามีเนื้อหาประเภทไหนที่ถูกห้าม หรือเสี่ยงต่อการละเมิดกฎบ้าง

  • Spam หรือเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
  • เกี่ยวกับเพศ หรือสื่อลามก
  • เนื้อหาที่เป็นอันตราย
  • เนื้อหาที่ไม่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน
  • การคุกคาม และ Cyberbullying
  • เนื้อหาที่เต็มไปด้วยการเกลียดชัง
  • การหลอกลวง หรือฉ้อโกง
  • ภาพหรือเนื้อหาที่มีความรุนแรง
  • ข้อมูลส่วนตัว
  • การปลอมตัวหรือแฝงตัวเป็นบุคคลอื่น
  • การละเมิดลิขสิทธิ์

YouTube แชร์ว่ากฎที่ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะสื่อมักพลาดจะเป็นเรื่องของการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นภัยอันตราย (Harassment) และการนำเสนอการฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายตัวเอง (Suicide and Self-Harm) วันนี้ในฐานะสื่อ เราเลยจะมาเจาะสิ่งที่ไม่ควรรายงานในข่าว เพื่อให้ไม่ละเมิดกฎบนแพลตฟอร์ม และเพื่อเป็นการรับผิดชอบในหน้าที่

เนื้อหาที่เป็นภัยอันตราย (Harassment)

YouTube จะจำกัดอายุการดูเนื้อหาที่มีฟุตเทจ เสียง หรือภาพของสภาพหลังภัยธรรมชาติ หรือกระบวนการทางการแพทย์ นอกจากนี้ เนื้อหานั้นเต็มไปด้วยเลือด ความรุนแรง มีเจตนาสร้างความตื่นตระหนก หรือทำให้ผู้ชมรู้สึกขยะแขยง รวมถึงเนื้อหาที่ส่งเสริมให้กระทำความรุนแรงก็ถือว่าละเมิดกฎเช่นกัน

เว้นแต่เป็นวิดีโอที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อการศึกษา หรือเป็นเนื้อหาสารคดี วิทยาศาสตร์ ศิลปะ สามารถทำได้ แต่ต้องไม่แสดงภาพโจ่งแจ้งเกินความจำเป็น มีจุดประสงค์ ผู้ควบคุมดูแลความปลอดภัย และบริบทที่ชัดเจน

การฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเอง (Suicide and Self-Harm)

เนื่องจากเนื้อหาบางประเภทอาจมีความละเอียดอ่อน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้งานบางราย ดังนั้นก่อนเผยแพร่เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเอง ควรมีการคิดไตร่ตรองผลกระทบที่อาจตามมาให้ดีก่อน

โดยคำแนะนำจาก YouTube เกี่ยวกับข้อห้ามในการโพสต์เนื้อหาประเภทดังกล่าว มีดังนี้

  • เนื้อหาที่ส่งเสริมการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเอง
  • วิธีการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเอง ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปยังผู้เยาว์
  • ภาพการทำร้ายตนเองโจ่งแจ้ง
  • ภาพศพของผู้ที่ฆ่าตัวตาย เว้นแต่จะมีการเบลอภาพ หรือปิดบังภาพทั้งหมด
  • ภาพเบลอที่ยังปรากฏรายละเอียด หรือภาพที่แสดงถึงวิธีการฆ่าตัวตาย
  • วิดีโอที่แสดงเหตุการณ์ที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือการพยายามฆ่าตัวตาย และวิดีโอไฟล์ดิบที่มีภาพการช่วยเหลือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย โดยที่ไม่มีบริบทเพียงพอ
  • เนื้อหาที่แสดงการมีส่วนร่วม หรือวิธีการสำหรับการท้าให้ฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
  • จดหมายลาตาย โดยไม่มีบริบทที่เพียงพอ

ซึ่งส่วนที่สื่อควรระวังเป็นพิเศษในเรื่องของการโพสต์ภาพศพผู้ตาย การนำเสนอที่เห็นถึงวิธีการฆ่าตัวตาย วิดีโอแสดงเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย หรือการช่วยเหลือ รวมถึงการนำจดหมายลาตายมาเปิดเผย โดยไม่มีบริบทที่ชัดเจน

ทางที่ดีหากต้องการนำเสนอภาพข่าวจริง ๆ ควรจะเบลอภาพทุกอย่างไม่ให้เห็นข้อมูลที่อยู่ในข้อห้ามดังที่กล่าวไป หรือไม่ก็ใช้เป็นภาพการรำลึกถึง หรือภาพงานศพแทนจะดีกว่า

ในที่นี้รวมทั้งการรายงานข่าว ภาพยนตร์ แอนิเมชัน สารคดี และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่ใช่เนื้อหาต้นฉบับโดยตรงเช่นกัน เนื่องจากเนื้อหาเหล่านี้มีผลกระตุ้นให้คนที่มีปัญหาสภาพจิตใจไม่ปกติ สามารถทำร้ายร่างกายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้ สื่อจึงต้องตระหนัก และรับผิดชอบในส่วนนี้อย่างเคร่งครัด 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎและนโยบายเพิ่มเติมของ YouTube สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ YouTube Policies

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save