NewsYoutube

Avatar

Thesky February 21, 2022

YouTube ประกาศแนวทางตรวจจับข่าวปลอมใหม่ปี 2022 แก้ปัญหาข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ

เพราะในโลกออนไลน์ตอนนี้การแชร์ข่าวเพื่อให้แพร่กระจายไปยังที่ต่าง ๆ นั้นมีความรวดเร็วเกินไป ส่งผลต่อความเชื่อที่ไม่ได้ไตร่ตรองก่อนของผู้คนในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก ซึ่ง YouTube ก็เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่คำนึงถึงการแพร่กระจายของข่าวเท็จและข้อมูลปลอม เลยประกาศแนวทางการจัดการใหม่ปี 2022 ออกมาเพื่อตรวจจับข้อมูลข่าวสารก่อนจะไวรัลออกมา

เดิมทีการจัดการข้อมูลข่าวสารของ YouTube ใช้หลักการ ‘4Rs’ เป็นการผสมผสานการร่วมงานกันระหว่างผู้คน และ Machine Learning เพื่อจัดการกับคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่ละเมิดกฎหรือเชิงลบใน YouTube คือ Remove, Raise, Reduce และ Reward

แต่ในปัจจุบันข่าวเท็จหรือข่าวปลอมต่าง ๆ แพร่กระจายไวขึ้น ทำให้ YouTube เกิดการปรับตัว จนออกมาเป็นแนวทางใหม่อย่าง ‘Tackling Key’ ในปี 2022 โดยมีการจัดการ ดังนี้

ตรวจจับข้อมูลเท็จก่อนไวรัล

YouTube จะใช้เครื่องมือ Machine Learning ในการตรวจสอบเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม หรือข้อมูลเท็จต่าง ๆ เพราะในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเท็จมีการเปลี่ยนหัวข้อไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีข้อมูลมาอ้างอิง แต่กลับไวรัลเร็วขึ้น ส่งผลให้การสร้างโมเดลในการตรวจจับต้องยกระดับมากขึ้น

โดยเฉพาะกับสถานการณ์โควิดที่ข้อมูลเท็จมีให้พบเห็นทุกวันไม่ซ้ำหัวข้อกัน รวมถึงเทคโนโลยีของ 5G ที่ถูกพัฒนาขึ้นในเรื่องความรวดเร็ว  จึงต้องหาวิธีการจัดการโดยสร้างพื้นที่ของข้อมูลข่าวสารหัวข้อโควิดให้ผู้คนสามารถติดตามได้อย่างถูกต้องโดยไม่ถูกหลอกนั่นเอง ซึ่งข่าวปลอมเรื่องอื่น ๆ ก็จะเริ่มวิเคราะห์จากความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย คีย์เวิร์ด ภาษาต่าง ๆ เพื่อให้ตรวจจับข้อมูลเท็จก่อนจะไวรัลได้

ขึ้นคำเตือนเมื่อถูกแชร์ออกนอก YouTube

ถือเป็นอีกความท้าทายหนึ่งที่ YouTube ต้องจัดการกับข้อมูลข่าวสารเท็จ เมื่อวิดีโอจาก YouTube มักจะถูกแชร์ออกหรือฝังไว้สู่ภายนอกในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำให้การตรวจจับความถูกต้องของข้อมูลยากขึ้น และตามไปตรวจสอบยาก

ซึ่งหนทางแก้ไขที่พอจะทำในสเต็ปต่อไปได้คือ การขึ้นคำเตือนในวิดีโอ เสมือนกับคำเตือนที่จำกัดอายุเด็กในคอนเทนต์ หรือวิดีโอกรราฟิก เพื่อให้ผู้ชมกดก่อนจะรับชม หรือรับรู้ว่าข้อมูลข่าวสารที่กำลังรับชมหรือจะรับชมนั้นไม่ได้มีความถูกต้อง

ขยายประเทศและภาษาที่ตรวจจับข้อมูลเท็จ

เพราะวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถสร้างความเข้าใจผิดในข้อมูลข่าวสารเท็จของแต่ะละประเทศได้ และส่งผลต่อ Propaganda ด้วยฉะนั้นการเพิ่มหรือขยายการรองรับประเทศและภาษากว่า 100 แห่งทั่วโลกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารปลอมเหล่านั้นมากขึ้น

ยกตัวอย่าง BBC ของสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ แต่อาจถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นแหล่งข่าวปลอมได้ในรัฐอื่น ๆ หรือกลายเป็นเครื่องมือชวนเชื่อของรัฐบาล ทาง YouTube เลยจะลงทุนจ้างบุคคลที่รู้บริบทของแต่ละประเทศมาร่วมมือกัน รวมถึงหน่วยงานของแต่ละประเทศมาช่วยกันทำให้แนวทางใหม่นี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

ที่มา: Inside YouTube

 

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save